การศึกษาอันตรกิริยาของการจับของสารในกลุ่มไดเอริลไพริมิดีนกับโพรงการจับของเอนไซม์การถ่ายแบบเอชไอวี-1 โดยใช้ระเบียบวิธีการคำนวณโมเลคูลาร์ด๊อกกิ้ง
ในการศึกษานี้ได้ศึกษาอันตรกิริยาของสารอนุพันธ์ไดเอริลไพริมิดินในโพรงการจับของเอนไซม์การถ่ายแบบเอชไอวี-1 ทั้งชนิดดั้งเดิมและชนิดกลายพันธุ์ (K103N) โดยใช้การคำนวณโมเลคูลาร์ด็อกกิ้งด้วยโปรแกรม Autodock 3.05 จากการศึกษาพบว่าระเบียบวิธีที่ใช้มีความน่าเชื่อถือในการทำนายตำแหน่งการจัดวางตัวของสารอนุพันธ์ไดเอริลไพริมิดินในโพรงการจับของเอนไซม์การถ่ายแบบเอชไอวี-1 ทั้งชนิดดั้งเดิมและชนิดกลายพันธุ์โดยพิจารณาจากความสอดคล้องกับผลการเปรียบเทียบกับโครงสร้างผลึกทางเอ็กซ์เรย์โดยให้ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเฉลี่ยน้อยกว่า 1.0 อังสตรอม และผลที่ได้จากการคำนวณโมเลคูลาร์- ด็อกกิ้งพบว่าสารอนุพันธ์ในกลุ่มที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งที่ดีสำหรับเอนไซม์การถ่ายแบบเอชไอวี-1 ชนิดดั้งเดิมจะเกิดอันตรกิริยาชนิดไพ-ไพและชนิดไฮโดรเจน-ไพ ในขณะที่ในการยับยั้งเอนไซม์ชนิดกลายพันธ์พบว่า สารยับยั้งส่วนมากจะเกิดพันธะไฮโดรเจนกับกรดอะมิโนไลซีนที่ตำแหน่ง 101, 102 และกรด อะมิโนกลูตามิกที่ตำแหน่ง 138 ผลการศึกษาให้ข้อมูลสำคัญในการเพิ่มความเข้าใจถึงอันตรกิริยาระหว่างสารอนุพันธ์ไดเอริลไพริมิดินกับเอนไซม์การถ่ายแบบเอชไอวี-1ทั้งชนิดดั้งเดิมและชนิดกลายพันธุ์
-
5537 การศึกษาอันตรกิริยาของการจับของสารในกลุ่มไดเอริลไพริมิดีนกับโพรงการจับของเอนไซม์การถ่ายแบบเอชไอวี-1 โดยใช้ระเบียบวิธีการคำนวณโมเลคูลาร์ด๊อกกิ้ง /project-chemistry/item/5537-1-5537เพิ่มในรายการโปรด