การศึกษาสมบัติการต้านอนุมูลอิสระและองค์ประกอบหลักทางเคมีของสารสกัดจากใบชาเมี่ยงหมักที่พบในจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้เทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปริมาณสารประกอบฟินอลิกรวมและศึกษาสมบัติการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากชาเมี่ยงหมัก การสกัดทำโดยการรีฟลักซ์และการใช้คลื่นอัลตร้าโซนิกช่วย ผลการวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟินอลิกรวม โดยวิธี Folin–Ciocalteu ของสารสกัดที่ได้โดยวิธีรีฟลักซ์โดยใช้เมทานอลเป็นตัวทำละลายและมีคลื่นอัลตราโซนิกช่วยสกัดพบปริมาณสารประกอบฟินอลิกเทียบเท่ากับกรดแกลลิกเฉลี่ย 78.05±1.59 ต่อใบชาแห้ง 1 กรัม ปริมาณสารตัวอย่างที่ยับยั้งอนุมูลอิสระเอบีทีเอสและดีพีพีเอชได้ครึ่งหนึ่งของปริมาณอนุมูลอิสระทั้งหมด (IC50) มีค่าเฉลี่ย 29.97 และ 44.10 พีพีเอ็ม ตามลำดับ วิเคราะห์หาปริมาณคาเทชิน อนุพันธ์และคาเฟอีนโดยใช้เทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง พบสารแกลโลคาเทชิน (GC), อิพิแกลโลคาเทชิน (EGC), คาเทชิน (C), อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต (EGCG), คาเฟอีน (CAF), อิพิ-คาเทชิน(EC) และอิพิคาเทชิน แกลเลต (ECG) ปริมาณ 5.42±1.32, 5.63±0.17, 5.23±0.35, 10.02±0.15, 34.66±1.71, 7.52±0.31 และ 18.65±0.27 มิลลิกรัมต่อใบชาแห้ง 1 กรัม ตามลำดับ จากผลการศึกษาดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า ใบชาเมี่ยงมีคุณสมบัติเป็นแหล่งสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติที่ดีอีกชนิดหนึ่ง
-
5554 การศึกษาสมบัติการต้านอนุมูลอิสระและองค์ประกอบหลักทางเคมีของสารสกัดจากใบชาเมี่ยงหมักที่พบในจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้เทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง /project-chemistry/item/5554-2016-09-09-03-39-16-5554เพิ่มในรายการโปรด