ความหลากหลายทางพันธุกรรมของกุ้งกุลาดำที่ใช้ในโครงการปรับปรุงพันธุ์
ศึกษากุ้งกุลาดำจำนวนทั้งหมด 12 ครอบครัว (N = 16/ครอบครัว) ด้วยเครื่องหมายไมโครแซท เทลไลท์ CUPmo13 และ DTLPm109 พบว่า CUPmo13 มีจำนวนอัลลีลและจีโนไทป์จำนวน12อัลลีลและ32จีโนไทป์ตามลำดับ โดยพบจำนวนอัลลีลตั้งแต่ 2-8 อัลลีลในแต่ละครอบครัว และค่าเฉลี่ยเฮทเทอโรไซโกซิตีในตัวอย่างทั้งหมดเท่ากับ 0.82 ส่วน DTLPm109 นั้นพบจำนวนอัลลีลและจีโนไทป์ทั้งหมด 26 อัลลีลและ37 จีโนไทป์ โดยพบจำนวนอัลลีลตั้งแต่ 3-10 อัลลีลในแต่ละครอบครัวและค่าเฉลี่ยเฮทเทอโรไซโกซิตีในตัวอย่างทั้งหมดที่ตำแหน่งDTLPm109 มีค่าเท่ากับ 0.91 ผลการทดลองบ่งชี้ว่ากุ้งกุลาดำที่ใช้ในโครงการคัดพันธุ์มีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูง อย่างไรก็ตามการพบจำนวนอัลลีลมากกว่า 4 อัลลีลในแต่ละครอบครัว อาจมีสาเหตุมาจากการปนกันของลูกกุ้งจากต่างครอบครัวในระหว่างกระบวนการผลิต หรือในการจับคู่ผสมพันธุ์นั้นมีการใช้ spermatophore ที่มาจากพ่อพันธุ์มากกว่า 1 ตัวกับแม่พันธุ์แต่ละตัว ข้อมูลความหลากหลายและรูปแบบทางพันธุกรรมนี้สามารถนำไปใช้ในการคัดพันธุ์กุ้งในลักษณะการคัดเลือกครอบครัว (family selection) เพื่อให้ได้กุ้งกุลาดำที่มีอัตราการเจริญเติบโตที่ดี ซึ่งจะส่งผลต่อความยั่งยืนของ กิจกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ
-
5794 ความหลากหลายทางพันธุกรรมของกุ้งกุลาดำที่ใช้ในโครงการปรับปรุงพันธุ์ /project-chemistry/item/5794-2016-09-09-03-41-34-5794เพิ่มในรายการโปรด