การพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลที่ใช้ตรวจสอบดีเอ็นเอของข้าวหอมมะลิไทย
ชื่อผู้ทำโครงงาน
อภิรักษ์ วงค์คำจันทร์
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
รศ.ดร.ปิยะดา ธีระกุลพิศุทธิ์และดร.จิรวัฒน์ สนิทชน
สถาบันการศึกษา
ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ระดับชั้น
ปริญญาโทขึ้นไป
หมวดวิชา
ชีววิทยา
วัน/เดือน/ปี ทำโครงงาน
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาเครื่องหมายโมเลกุลที่สามารถบอกความแตกต่างระหว่างข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ซึ่งเป็นข้าวหอมมะลิไทยที่เป็นที่นิยมอย่างสูงในตลาดต่างประเทศ กับพันธุ์ปทุมธานี 1 ซึ่งเป็นข้าวหอมที่มักถูกนำมาปลอมปนเพื่อการส่งออก ขั้นตอนการศึกษาประกอบด้วยการสกัดดีเอ็นเอ จากต้นกล้าข้าว 3 พันธุ์ คือ ขาวดอกมะลิ 105 ปทุมธานี 1 และ กข 15 นำดีเอ็นเอที่ได้ไปเป็นต้นแบบใน ปฏิกิริยาพีซีอาร์ โดยใช้ SSR primers จำนวน 21 คู่ ได้แก่ RM1, RM3, RM5, RM6, RM7, RM11,RM13, RM19, RM20, RM25, RM44, RM53 RM164, RM170, RM189, RM206, RM209, RM224,RM231, RM261, และ RM337 ตรวจสอบผลการทำพีซีอาร์ด้วยอิเล็กโทรโฟริซิสในวุ้นอะกาโรสเข้มข้น5% พบว่ามี SSR primers จำนวน 3 คู่ ที่ให้แถบดีเอ็นเอที่บอกความแตกต่างระหว่างสายพันธุ์ได้ ได้แก่RM7, RM19, RM206
คำสำคัญ
โม,เล,กุล,ดี,เอ็น,เอ,ข้าว,หอม,มะ,ลิ,ไทย
ประเภท
Text
ลิขสิทธิ์
ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
อภิรักษ์ วงค์คำจันทร์
ระดับชั้น
ม.4, ม.5, ม.6
กลุ่มเป้าหมาย
ครู, นักเรียน
-
5836 การพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลที่ใช้ตรวจสอบดีเอ็นเอของข้าวหอมมะลิไทย /project-chemistry/item/5836-2016-09-09-03-41-45-5836เพิ่มในรายการโปรด
คุณอาจจะสนใจ
Hits (80352)
ให้คะแนน
สื่อการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์ หรือ CAI (Computer Aided Instruction หรือ Computer Assisted ...
Hits (86807)
ให้คะแนน
ในงานวิจัยนี้ศึกษาการหาระยะทางอิสระเฉลี่ยและหาระยะเวลาในการปลดปล่อยอนุภาคด้วยเทคนิควิธีแบบ FWHM ...