ผลของไคโตซานต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราในกล้วยไม้รองเท้านารีขาวสตูล
ไคโตซานเป็นองค์ประกอบที่อยู่ในเปลือกนอกสัตว์พวก กุ้ง ปู แมลง และเห็ดรา ซึ่งได้ศึกษาผลของไคโตซานต่อการยับยั้งเชื้อราในกล้วยไม้รองเท้านารีขาวสตูล โดยสกัดใบกล้วยไม้ที่ได้รับไคโตซานจากเห็ดดังนี้ เห็ดฟาง, เห็ดนางฟ้า, เห็ดแครง, เห็ดหูหนู, เห็ดนางรม และเห็ดกะชิง (% DD เท่ากับ 75.43, 64.57,82.86, 88.00, 64.00 และ 81.14 ตามลำดับ) มาทำการทดสอบหาค่า Peroxidase(POD) และchitinase(CTN)activity พบว่ากล้วยไม้ที่ได้รับไคโตซานจากเห็ดฟางมี POD สูงที่สุด เมื่อกระตุ้น 2 สัปดาห์(5.85ด 1 0 - 4 Unit/mg) ส่วนกล้วยไม้ที่ได้รับไคโตซานจากเห็ดนางฟ้าแสดงค่าCTN สูงสุด เมื่อกระตุ้น 4สัปดาห์(8.59ด 1 0 - 2 mmol/min/mg) จากนั้นทดสอบการยับยั้งเชื้อรา Fusarium moniliforme, Curvularia spp.และ Phytopthora spp.ในจานเพาะลี้ยงเชื้อ และบนใบกล้วยไม้ที่ได้รับไคโตซาน พบว่า กล้วยไม้ที่ได้รับ ไคโตซานสามารถยับยั้งเชื้อราได้เล็กน้อย
-
5903 ผลของไคโตซานต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราในกล้วยไม้รองเท้านารีขาวสตูล /project-chemistry/item/5903-2016-09-09-03-43-11-5903เพิ่มในรายการโปรด