การศึกษาการย้อมสีเนื้อเยื่อสัตว์ด้วยสีสกัดจากแก่นขนุน (Artocarpus heterophyllus Lam.)
การใช้สีสกัดจากธรรมชาตินำมาใช้ในการย้อมสีเนื้อเยื่อต่างๆ เพื่อใช้ในทางชีววิทยานั้นเป็นทางเลือกหนึ่ง เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณในการซื้อสีสังเคราะห์ซึ่งมีราคาที่แพง และลดใช้สีสังเคราะห์ที่มีสารเคมีซึ่งส่งผลอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ดังนั้น จึงได้ทำการศึกษาโดยนำแก่นขนุนมาสกัดและทำการย้อมเนื้อเยื่อตับหนู คือ สกัดด้วยตัวทำละลาย 2 ชนิด คือ น้ำกลั่น หรือ 45% กรดกลาเซียลอะซิติก (Glacial acetic acid) สกัดที่อุณหภูมิ 100 ºc นาน 30 และ 60 นาที ที่อัตราส่วน 1:5 และ1:10 และใช้สารละลาย 1% ของสารส้มและ 1%ของจุนสีเป็นสารช่วยติดสี (Mordant) โดยย้อมเป็นระยะเวลา 15 และ 30 นาที พบว่าจากการเปรียบเทียบการติดสีที่ใช้สารสกัดต่างกัน เมื่อใช้อัตราส่วนและเวลาในการย้อมเท่ากัน สีเหลืองของแก่นขนุนนั้นจะย้อมติดสีที่นิวเคลียส.(nucleus).ของเนื้อเยื่อตับแตกต่างกัน…โดยถ้าใช้สารสกัดเป็นน้ำกลั่นที่อัตราส่วน 1:5 ย้อมนาน 15 นาทีและใช้ 1%ของจุนสีเป็น Mordant นั้นจะติดสีเหลืองได้ดีที่สุด ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ Abstract: The application of natural dyes in dyeing of various tissues for biology is an option that decrease the expense for purchasing the synthetic dye and reduce their effects on human and environment.So, this study was conducted by bringing the Jack- fruit’s core to extract dye and stained rat hepatic tissue.The Jack-fruit’s core was extracted with distilled water or 45% glacial acetic acid at 100ºc for 30 and 60minutes at the proportion of 1:5 and 1:10. 1% alum and 1% copper sulphate are used as mordants.staining at 15 and 30 minutes. The result showed the level of yellow stain on the nucleus of hepatic cells differed between dyes from different extraction substance, Although using the same proportion and dyeing time. If the extraction substance is distilled water at proportion of 1:5 with 1% copper sulphate as mordant and staining at 15 minutes, the level of yellow stain is the best result.
-
6028 การศึกษาการย้อมสีเนื้อเยื่อสัตว์ด้วยสีสกัดจากแก่นขนุน (Artocarpus heterophyllus Lam.) /project-chemistry/item/6028-artocarpus-heterophyllus-lamเพิ่มในรายการโปรด