ผลของโซเดียมคลอไรด์ต่อการเจริญเติบโต ออสโมแลลลิตี และปริมาณไอออนของสบู่ดำ
การศึกษาผลของโซเดียมคลอไรด์ความเข้มข้น 0 0.5 1.0 1.5 และ 2.0 เปอร์เซ็นต์ในสารละลาย Hoagland ต่อการเจริญเติบโต ออสโมแลลิตี และปริมาณไอออนในต้นกล้าของสบู่ดำ (Jatropha curcas L.) โดยปลูกเลี้ยงในทรายเป็นเวลา 30 วัน พบว่า น้ำหนักสด และน้ำหนักแห้งของใบ ต้น และราก ลดลงตามความเข้มข้นของโซเดียมคลอไรด์ที่เพิ่มขึ้น แต่ที่ความเค็มต่ำ (0.5 เปอร์เซนต์โซเดียมคลอไรด์) น้ำหนักสดของแต่ละส่วนพืชเพิ่มขึ้น ส่วนน้ำหนักแห้งของต้น และรากเพิ่มขึ้นที่ 0.5 และ 1.0 เปอร์เซ็นต์โซเดียมคลอไรด์ตามลำดับ ส่วนออสโมแลลลิตีนั้นไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกความเข้มข้นของโซเดียมคลอไรด์ เมื่อความเค็มเพิ่มขึ้น ปริมาณโซเดียมและคลอไรด์ไอออนเพิ่มขึ้น ส่วนปริมาณโพแทสเซียมไอออนในใบลดลงเล็กน้อย ในขณะที่ในต้นและรากค่อนข้างคงที่ โดยโซเดียมไอออนสะสมมากในส่วนราก ในขณะที่คลอไรด์ไอออนสะสมมากในส่วนต้น -------------------------------------------------------------------------------------------- The effects of NaCl at 0, 0.5, 1.0, 1.5 and 2.0 % in Hoagland’s solution of sand culture on growth, osmolality and some ions content of Jatropha curcas L. seedling were investigated. The results showed that fresh and dry weight of leaves, stems and roots were decreased with increasing NaCl concentrations. However, at low salinity (0.5 % NaCl) the fresh weight of each plant parts were increased and dry weight of stems and roots were increased at 0.5 and 1.0 % NaCl , respectively. Shoot sap osmolality of third (older) and fifth (younger) leaves was not significantly different at all NaCl concentrations. As salinity increased, Na+ and Cl- content in all plant parts were increased while K+ content was slightly decreased in leaves and constanted in stems and roots. Na+ was much accumulated in root, where as Cl- was much accumulated in stem.
-
6347 ผลของโซเดียมคลอไรด์ต่อการเจริญเติบโต ออสโมแลลลิตี และปริมาณไอออนของสบู่ดำ /project-chemistry/item/6347-2016-09-09-03-49-18-6347เพิ่มในรายการโปรด