กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบของพืชวงศ์ต่างไก่ป่า (Polygalaceae) ในประเทศไทย
ศึกษาเปรียบเทียบลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์ของแผ่นใบ ก้านใบ ข้อ และราก ของพืชวงศ์ต่างไก่ป่า (Polygalaceae) ในประเทศไทยจำนวน 4 สกุล 25 ชนิด ได้แก่ สกุล Polygala 13 ชนิด สกุล Salomonia 5 ชนิด สกุล Securidaca 1 ชนิด และสกุล Xanthophyllum 6 ชนิด โดยกรรมวิธีพาราฟิน เทคนิคการทำให้ใส และการถ่ายภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด เพื่อนำลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์มาใช้สร้างรูปวิธานระบุชนิดพืชที่ศึกษา พบว่ากายวิภาคศาสตร์ของข้อของพืชทุกสกุลมีลักษณะเหมือนกัน คือ มีแขนงท่อลำเลียงสู่ใบ 1 แขนง ลีฟแก็ปมี 1 ลีฟแก็ป ลักษณะของรากพืชสกุล Salomonia แตกต่างจากสกุลอื่นโดยการมีเซลล์เก็บสะสมสารและช่องอากาศในคอร์เทกซ์ จากลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์ของใบสามารถแบ่งพืชที่ศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 มีเซลล์แปลกปลอมที่คล้ายเทรคีด ซึ่งพบเฉพาะในพืชสกุล Xanthophyllum และกลุ่มที่ 2 ไม่มีเซลล์แปลกปลอมที่คล้ายเทรคีด ซึ่งประกอบด้วยสกุล Polygala, Salomonia และ Securidaca ลักษณะสำคัญที่สามารถนำมาใช้ในการระบุชนิดพืชในแต่ละสกุลประกอบด้วยลักษณะของแผ่นใบ ได้แก่ การมีปากใบเฉพาะที่ผิวใบด้านล่างหรือมีทั้งที่ผิวใบด้านบนและด้านล่าง ชนิดของปากใบ ชนิดของไทรโคม การมีปุ่มเล็ก รูปร่างของเซลล์ในเนื้อเยื่อชั้นผิว และลวดลายผิวเคลือบคิวทิน จำนวนชั้นของเซลล์แพลิเซด การมีช่องว่างที่เกิดจากเซลล์สลายในมีโซฟิลล์ของใบ รวมทั้งการมีเยื่อหุ้มท่อลำเลียงหรือหมวกท่อลำเลียงเป็นเซลล์เส้นใย ส่วนลักษณะของก้านใบ ข้อ และราก ไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ระบุชนิดพืชในวงศ์นี้ได้ -------------------------------------------------------------------------------------- In order to investigate anatomical characters which are useful for species identification of the family Polygalaceae in Thailand, leaf, petiole, nodal and root anatomy of 25 species from four genera; 13 of Polygala, five of Salomonia, Securidaca inappendiculata and six of Xanthophyllum, are studied by the use of paraffin method, clearing technique and scanning electron microscopy. The unilacunar with one trace type is the typical characters of nodal anatomy in this family. Root of Salomonia is distinguishable by the presence of idioblasts and air cavities in cortex. The four genera can be classified into two groups based on leaf characters. The first group, in which has only Xanthophyllum, is separated by having tracheoid idioblasts. The second group composed of another three genera is defined by lacking tracheoid idioblasts. Moreover, leaf epidermal characters; hypostomatic or amphistomatic leaves, presence of papillae, trichome and stomatal types, epidermal cells’shapes and cuticular ornamentations, and mesophyll characters; number of palisade layers and presence of lysigenous cavities, including presence of fibre bundle sheath or bundle cap are the significant characters for studied species identification. Petiole, root and nodal anatomy are not recommended for species recognition.
-
6358 กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบของพืชวงศ์ต่างไก่ป่า (Polygalaceae) ในประเทศไทย /project-chemistry/item/6358-polygalaceaeเพิ่มในรายการโปรด