ผลของอัลทรานซ์เรติโนอิกแอซิดต่อโครงสร้างระดับจุลภาคของเซลล์ต้นกำเนิดเซลล์สืบพันธุ์ของกุ้งก้ามกรามในเอ็มบริโอระยะก่อนฟัก
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาเปอร์เซ็นต์การตายของเอ็มบริโอของกุ้งก้ามกรามอายุ 20 วันในน้ำทะเลเทียมที่มีความเข้มข้นของสารอัลทรานซ์เรติโนอิกแอซิดในระดับต่างๆ และผลของสารอัลทรานซ์เรติโนอิกแอซิดต่อลักษณะโครงสร้างของเซลล์ต้นกำเนิดเซลล์สืบพันธุ์ของกุ้งก้ามกราม โดยนำเอ็มบริโออายุ 24 ชั่วโมง ไปเลี้ยงในน้ำทะเลเทียมที่มีความเข้มข้นของสารสารอัลทรานซ์เรติโนอิกแอซิดที่ระดับต่างๆ คือ 10, 50, 100 และ 150 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ที่ระดับความเข้มข้น 50 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีเปอร์เซ็นต์การตายต่ำที่สุด คือ 30.83 เปอร์เซ็นต์ และที่ระดับความเข้มข้น 150 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีเปอร์เซ็นต์การตายสูงที่สุด คือ 89.66 เปอร์เซ็นต์ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ และผลการศึกษาโครงสร้างของเซลล์ต้นกำเนิดเซลล์สืบพันธุ์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง พบว่า เซลล์ต้นกำเนิดเซลล์สืบพันธุ์ในชุดควบคุม มีลักษณะเป็นเซลล์ทรงกลมขนาดใหญ่ มีนิวเคลียสขนาดใหญ่ เห็นนิวคลีโอลัสชัดเจน ในกลุ่มทดลองที่เลี้ยงด้วยสารอัลทรานซ์เรติโนอิกแอซิดที่ระดับความเข้มข้น 10, 50 และ 100 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ไม่แตกต่างจากชุดควบคุม และพบว่าในชุดทดลองที่เลี้ยงด้วยสารอัลทรานซ์เรติโนอิกแอซิดเข้มข้น 150 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร เซลล์ต้นกำเนิดเซลล์สืบพันธุ์ได้พัฒนาไปเป็นเซลล์ที่มีลักษณะคล้ายโอโอไซต์ เมื่อศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน พบว่า ภายในเซลล์ต้นกำเนิดเซลล์สืบพันธุ์ในชุดควบคุมและชุดที่เลี้ยงด้วยสารเข้มข้น 10 และ 50 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีออแกแนลน้อย ในชุดที่เลี้ยงด้วยสารเข้มข้น 100 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร พบออแกแนลจำนวนมากประกอบด้วย ไรโบโซม, ไมโตคอนเดรีย, เอ็นโดพลาสมิกเรติคูลัม และแวคิลโอล ในชุดที่ได้รับสารเข้มข้น 150ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีการเจริญพัฒนาไปเป็นเซลล์ที่มีที่มีลักษณะคล้ายโอโอไซต์ คือ เป็นเซลล์ขนาดใหญ่ ภายในนิวเคลียสมีโครมาตินเกาะกันอยู่อย่างหลวมๆ ตามบริเวณขอบนิวเคลียส ลักษณะไซโตพลาสซึมทึบ จากการวิจัยนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามได้ต่อไป ---------------------------------------------------------------------------------------- The objectives of this study were to investigate the effect of all-trans retinoic acid on motality rate and structure of primordial germ cells (PGCs) in 20 day-old giant freshwater prawn embryos. The embryos at 24 hours after spawning were treat with 15% artificial seawater (ASW) and 10, 50, 100 or 150 µg/ml for 2 days. The results of this study show the lower of motality rate was 38.83% in 50 µg/ml AtRA. The highest motality rate was 89.66% in 150 µg/ml AtRA. Under light microscope (LM) observation, the results show that PGCs are large round cell with large nucleus and conspicuous nucleoli. The structure of PGCs in10, 50, 100 µg/ml AtRA treated embryo similar to that of control but PGCs in 150 µg/ml AtRA treated embryo are difference from those in control and others treatments. Surprisingly PGCs in 150 µg/ml treated embryo develop to be oocytes. Under transmission electron microscopic study, The results show that PGCs in control, 10, 50 µg/ml AtRA treated embryos compose of small amount of organelles but those in 100 µg/ml AtRA treated embryos show bilayer of nuclear membrane, nuclear pore complex, ribosome, mitochondria, rough endoplasmic reticulum and large vacuole. In 150 µg/ml AtRA treated embryos, the PGCs develop to be oocytes. They are large round nucleus with heterochromatin. The cytoplasm is dense. This study can use for giant freshwater prawn cuture.
-
6365 ผลของอัลทรานซ์เรติโนอิกแอซิดต่อโครงสร้างระดับจุลภาคของเซลล์ต้นกำเนิดเซลล์สืบพันธุ์ของกุ้งก้ามกรามในเอ็มบริโอระยะก่อนฟัก /project-chemistry/item/6365-2016-09-09-03-49-23-6365เพิ่มในรายการโปรด