การเสนอผลงานวิจัย เรื่อง การศึกษาผลเบื้องต้นของสารสกัดจากเล็บมือนาง และสารสังเคราะห์ Arecoline ต่อพยาธิใบไม้ตับโค Fasciola gigantica
โรคพยาธิใบไม้ในตับของโค และกระบือ (Fasciolosis) ในประเทศไทย เกิดจากพยาธิใบไม้ชนิด Fasciola gigantica ก่อให้เกิดความสูญเสียกับการปศุสัตว์ของประเทศอย่างมาก การศึกษาผลเบื้องต้นของสารสกัดจากเล็บมือนาง และสารสังเคราะห์ Arecoline เพื่อตรวจสอบความสามารถในการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงผนังลำตัวของพยาธิใบไม้ตับชนิด Fasciola gigantica ทำการเลี้ยงพยาธิภายใน 5% CO2 ที่อุณหภูมิ 37o C โดยใช้อาหาร RPMI-1640 การเตรียมสารสกัดเล็บมือนาง และสารสังเคราะห์ Arecoline ได้ละลายในสาร Dimethylsulfoxide (DMSO) 200 μl/ml ตรวจสอบการเคลื่อนไหวของพยาธิ ที่เวลา 0.5, 1, 3, 12 และ 24 ชั่วโมง โดยบันทึกผลแบ่งระดับการเคลื่อนไหวของพยาธิเป็น3 ระดับคือ เคลื่อนไหวได้ดี เคลื่อนไหวได้เพียงบางส่วนของร่างกาย และไม่เคลื่อนไหว และนำพยาธิไปตรวจสอบสภาพผิวลำตัวด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) พบว่าพยาธิในกลุ่มควบคุม ได้แก่ กลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหาร RPMI-1640 และที่เลี้ยงด้วยอาหาร RPMI-1640 ที่มีสาร Dimethylsulfoxide (DMSO) มีการเคลื่อนไหวได้ดี 73.33% และ 60% ตามลำดับ พยาธิที่เลี้ยงใน RPMI-1640 ที่มีสารสังเคราะห์ Arecoline ความเข้มข้น100 และ 200 µg/ml ไม่เคลื่อนไหว 60% และ 66.67% ส่วนพยาธิที่เลี้ยงใน RPMI-1640 ที่มีสารสกัดเล็บมือนาง ความเข้มข้น100 µg/ml มีการเคลื่อนไหวได้ดี 66.67% และ 200 µg/ml มีการเคลื่อนไหวได้เพียงบางส่วนของร่างกาย 60% เมื่อศึกษาผนังลำตัวของพยาธิพบว่าพยาธิที่เลี้ยงในกลุ่มควบคุมมีผิวเป็นปกติ และผนังลำตัวของพยาธิในกลุ่มที่มี Arecoline มีลักษณะเป็นรูพรุน ----------------------------------------------------------------------------------------------- Fasciolosis, a disease caused by the liver fluke of Fasciola gigantica is a economic problem in Thailand. Preliminary studies on the effect of Quisqualis Indica Linn. and arecoline on worm motility and the tegument of Fasciola gigantica were studied. The flukes were kept in RPMI-1640 medium, incubated 5% CO2 at 37o C. Quisqualis Indica Linn. and Arecoline were initially prepared as a stock solution in Dimethylsulfoxide (DMSO) 200 μl/ml . The flukes were investigated after 0.5, 1, 3, 12 and 24 hours incubation by monitoring worm motility. The motility was scored using following criteria : moving whole body, moving only parts of body and immobile. The tegumental changes was studied by using scanning electron microscopy (SEM). The control groups (RPMI-1640 and RPMI-1640 + DMSO) remained active , with whole body movement were 73.33% and 60%, respectively. In the treated groups Arecoline 100 and 200 µg/ml were immobile 60% and 66.67%, respectively. The experimental flukes in 100 µg/ml Quisqualis indica moved whole body 66.67% and in 200 µg/ml Quisqualis indica moved only parts of body 60%. The tegument of worms showed normally in the control groups. For the Arecoline treated groups, the tegument of F. gigantica showed disruption and vacuolization.
-
6371 การเสนอผลงานวิจัย เรื่อง การศึกษาผลเบื้องต้นของสารสกัดจากเล็บมือนาง และสารสังเคราะห์ Arecoline ต่อพยาธิใบไม้ตับโค Fasciola gigantica /project-chemistry/item/6371-arecoline-fasciola-giganticaเพิ่มในรายการโปรด