ผลกระทบของแคดเมียมต่อการเจริญเติบโต การสะสมแคดเมียม และการสร้างไฟโตคีเลตินในผักกาดเขียวและผักกวางตุ้ง
การทดลองนี้ใช้ระบบไฮโดรโพนิกเพื่อเปรียบเทียบการสะสมแคดเมียมและการสังเคราะห์ไฟโตคีเลตินในพืชสกุล Brassica 2 ชนิด คือ ผักกาดเขียวและผักกวางตุ้ง สำหรับการศึกษาการสะสมแคดเมียมโดยใช้แคดเมียมคลอไรด์ที่ความเข้มข้น 0.25 และ 0.5 mg/L เป็นเวลา 15 วัน ผลปรากฏว่าแคดเมียมที่ความเข้มข้น 0.5 mg/L เป็นพิษต่อพืชทั้งสองชนิดโดยเฉพาะผักกาดเขียว นอกจากนี้ผักกวางตุ้งยังสามารถสะสมแคดเมียมได้ในปริมาณที่สูงกว่าผักกาดเขียวอีกด้วย ในด้านการทดสอบความสามารถในการสังเคราะห์ไฟโตคีเลตินได้ทำการทดลองในสารละลายแคดเมียมคลอไรด์ความเข้มข้น 5, 10 และ 15 mg/L เป็นเวลา 8 วัน แล้ววัดปริมาณไฟโตคีเลตินและกลูตาไทโอน พบว่าในส่วนรากของพืชทั้งสองชนิดมีปริมาณไฟโตคีเลตินและ กลูตาไทโอนเรียงลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ PC3>PC2>GSH แต่ในส่วนยอดไม่พบ PC3 จากผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่าผักกวางตุ้งมีประสิทธิภาพในการลดปริมาณแคดเมียมในซับสเตรทได้ดีกว่าผักกาดเขียว -------------------------------------------------------------------------------------------- Hydroponic experiments were conducted to compare the Cd accumulation and phytochelatin (PC) synthesis in two species of Brassica, B. juncea and B. rapa var. chinensis. For accumulation study, Cd was applied as CdCl2 at 0.25 and 0.5 mg/L for 15 days. The results showed that Cd at 0.5 mg/L was toxic to both plant species especially B. juncea. In addition, B. rapa var. chinensis could accumulate more Cd than B. juncea. For the study of PC synthesis, the plants were treated with 5, 10, 15 mg/L Cd for 8 days. PCs and glutathione (GSH) were extracted and measured. The results showed that in the roots of both plant species the total concentration of PCs and GSH were in the order of PC3>PC2>GSH. In contrast, PC3 could not be detected in the shoots. These results revealed that B. rapa var. chinensis was more effective than B. juncea in phytoextraction of Cd
-
6376 ผลกระทบของแคดเมียมต่อการเจริญเติบโต การสะสมแคดเมียม และการสร้างไฟโตคีเลตินในผักกาดเขียวและผักกวางตุ้ง /project-chemistry/item/6376-2016-09-09-03-49-26-6376เพิ่มในรายการโปรด