แผ่นฟิล์มไคโตซาน-อะไมโลส ชะลอการเกิดราบนขนมปัง (Film Chitosan- Amylose Use in Delay the Fungal Growing Process on Bread)
เนื่องด้วยในปัจจุบัน ประเทศไทยมีการใช้ฟิล์มพลาสติกสำหรับห่ออาหารเป็นจำนวนมาก
ซึ่งส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อม จึงได้มีการผลิตแผ่นฟิล์มไคโตซาน ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาใช้ทดแทน แต่มีราคาสูง จึงมีแนวคิดที่จะผลิตแผ่นฟิล์มไคโตซาน-อะไมโลส ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน สามารถใช้ในการถนอมอาหาร ย่อยสลายได้ง่าย และสามารถรับประทานได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย โดยการนำไคโตซานบริสุทธิ์ผสมกับแป้ง 3 ชนิด คือ แป้งข้าวโพด แป้งข้าวเหนียว และแป้งมันสำปะหลัง แล้วนำไปทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพ โดยดูความหนา ความสามารถในการบวมน้ำ และลักษณะพื้นผิว และทดสอบความสามารถในการถนอมอาหารโดยการนำไปห่อขนมปัง พบว่า แผ่นฟิล์มไคโตซาน-แป้งข้าวโพด มีความหนาน้อยที่สุดและมีความสามารถในการถนอมอาหารดีที่สุด ส่วนความสามารถในการบวมน้ำของแผ่นฟิล์มแต่ละชนิดจะใกล้เคียงกัน จากนั้นจึงเพิ่มความยืดหยุ่นของแผ่นฟิล์มไคโตซาน-แป้งข้าวโพด โดยการเติม PVA ลงไป นำไปทดสอบความสามารถในการถนอมอาหาร พบว่า แผ่นฟิล์มไคโตซาน-แป้งข้าวโพด-PVA มีความสามารถในการถนอมอาหารใกล้เคียงกับแผ่นฟิล์มไคโตซาน-แป้งข้าวโพด
-
6632 แผ่นฟิล์มไคโตซาน-อะไมโลส ชะลอการเกิดราบนขนมปัง (Film Chitosan- Amylose Use in Delay the Fungal Growing Process on Bread) /project-chemistry/item/6632-film-chitosan-amylose-use-in-delay-the-fungal-growing-process-on-breadเพิ่มในรายการโปรด