การหลอมโปรโตพลาสต์ ของพืชตระกูลแตง และการศึกษาวิธีการจำแนกพันธุ์ ด้วยเทคนิคทางโครโมโซมและดีเอนเอ
ในการศึกษาปัจจัยที่สำคัญในการผลิตลูกผสมพืช ระหว่างพืชตระกูลแตงในตระกูล Cucurbitaceae ด้วย และเทคโนโลยีด้านการหลอมโปรโตพลาสต์ โดยใช้ตำลึงและแตงกวาเป็นต้นแบบในการศึกษา พบว่าปัจจัยที่สำคัญที่จะทำให้ได้โปรโตพลาสต์ ที่มีปริมาณพอเพียง และได้โปรโตพลาสต์ที่มีคุณภาพดีไม่แตกง่าย แหล่งของเนื้อเยื่อที่ใช้ในการย่อยโปรโตพลาสต์ในพืชแต่ละชนิด จะมีความเหมาะสมแตกต่างกัน โปรโตพลาสต์ของแตงกวาสามารถย่อยได้จากทั้งเอมบริโอเจนิคแคลลัส เซลล์แขวนลอย และใบเลี้ยง ในขณะที่การย่อยโปรโตพลาสต์จากแคลลัสของตำลึงจะได้จะได้จำนวนโปรโตพลาสต์ไม่สูง เนื่องจาก แคลลัสของตำลึงที่ชักนำได้มีลักษณะฉ่ำน้ำ ไม่เหมาะต่อการนำมาใช้ย่อยโปรโตพลาสต์แต่สามารถย่อยได้ดีจากเนื้อเยื่อใบอ่อน ทั้งที่เพาะในหลอดทดลอง หรือที่ตัดมาจากต้นที่โตในแปลง ส่วนเนื้อเยื่อใบเลี้ยงที่เพาะจากเมล็ดของตำลึงที่มีขนาดเล็ก ไม่เหมาะสมต่อการนำมาใช้ย่อยโปรโตพลาสต์ เมื่อทดสอบหลอดโซมาติก โปรโตพลาสต์ที่ได้จากแคลลัสของแตงกวาเข้ากับโซมาติกโปรโตพลาสต์จากใบของตำลึงโยการใช้สาร Polyethyleneglycol รวมกับสภาพที่มีความเข้มข้นของแคลเซียมไอออน และความเป็นกรดด่างที่สูง พบว่า อัตราการหลอมของโปรโตพลาสต์ตำลึงและแตงกวา ด้วยวิธีดังกล่าวยังไม่สูงมาก ประมาณ 0.68 % ส่วนการหลอมเซลล์ด้วยวิธี Electrofusion จะให้อัตราการหลอมที่สูงกว่า ในการศึกษาวิธีการจำแนกเอกลักษณ์ของพันธุ์ เพื่อใช้รองรับการจำแนกพันธุ์ลูกผสมที่เกิดการหลอมโปรโตพลาสต์นั้น ได้ศึกษาเทคนิคการวิเคราะห์ดีเอนเอพืชด้วยโมเลกุลเครื่องหมาย (molecular marker) ที่ใช้ PCR (Polymerase Chain Reaction) เป็นพื้นฐาน คือวิธี RAPD (Random Amplified Polymorphic DNA) เมื่อทำการ screen หา primer ที่เหมาะสมจาก Operon kit ชุดต่างๆ พบว่าสามารถใช้ Operon A ชนิด A3 และ A10 มาใช้ในการจำแนกให้เห็นความแตกต่างของรูปแบบ (pattern) ของ DNA band ระหว่างแตงกวา และตำลึงได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในการจำแนกลูกผสมที่ได้ระหว่างพืชทั้งสองชนิดนี้ต่อไป นอกจากนี้ยังสามารถใช้วิธีการวิเคราะห์ จำนวน และรูปร่างของโครโมโซมที่ปลายรากพืชมาพิสูจน์ลักษณะทางพันธุกรรมของพืชทั้งสองชนิดได้เช่นกัน
-
4845 การหลอมโปรโตพลาสต์ ของพืชตระกูลแตง และการศึกษาวิธีการจำแนกพันธุ์ ด้วยเทคนิคทางโครโมโซมและดีเอนเอ /project-computer/item/4845-2016-09-09-03-24-39_4845เพิ่มในรายการโปรด