การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี ของโหระพา แมงลัก และสะระแหน่สวน
พืชในวงศ์ LAMIACEAE โหระพา สะระแหน่ และแมงลัก เป็นพืชที่ถูกนำมาใช้ในการแต่กลิ่นอาหารเฉพาะอย่างยิ่งในครัวเรือนของคนไทย ในปัจจุบันพืชในวงศ์นี้ยังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น มีการสกัดเอานำมันหอมระเหยไปใช้ในธุระกิจสปาหรือสุคนธบำบัด โดยธุระกิจสปาในประเทศไทยมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องอย่างไรก็ดี ประเทศไทยยังไม่สามารถใช้ประโยชน์ในพืชวงศ์นี้ได้ย่างเต็มที่ เนื่องจากยังขาดความรู้และวัตถุดิบ ที่จะต้องนำเข้าจากต่างประเทศ โครงการนี้จึงได้มุ่งเน้นเอาพืชสมุนไพรไทยมาศึกษาและวิจัย และนำความรู้เหล่านี้เองมาปัจจัยสำคัญในการเพิ่มมูลค่าสินค้าและเป็นจุดขายให้ธุระกิจสปาของประเทศไทย เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า พืชทั้ง 3 ชนิดนี้มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน แต่เมื่อสูดดมจะรู้สึกสดชื่นและตื่นตัว การวิจัยในครั้งนี้จึงมุ่งศึกษาองค์ประกอบทางเคมีที่พบในน้ำมันหอมระเหยของ โหระพา (Ocimun basilicum Linn.) แมงลัก (Ocimum canum Linn) และสะระแหน่สวน (Mentha Corlifodia Linn.) และผลที่เกิดต่อร่างกายและจิตอันเนื่องมากจากองค์ประกอบหลัก การทดลองเริ่มจากการนำส่วนของพืชทั้ง 3 ชนิดการกลั่นวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีที่ได้จาก นำมันหอมระเหยมาเปรียบเทียบกับองค์ประกอบของสารหอมระเหยที่ได้จากใบพืชสดโดยตรง ผลปรากฏว่า ใบสดของพืชสามารถนำไปหาองค์ประกอบทางเคมีที่ได้จากใบพืชสดโดยตรงได้ดีกว่าน้ำมันหอมระเหยที่ได้จากการกลั่นด้วยไอน้ำ ซึ่งเป็นสภาวะที่จะทำให้สารกลุ่ม Monoterpene และสารที่มีโครงสร้างเป็นวงปิด สามารถเกิดปฏิกิริยาได้ง่ายทำให้โครงสร้างขององค์ประกอบทางเคมีเปลี่ยนไป และเมื่อนำเอาผลการทดลองมาวิเคราะห์พบว่า น้ำมันหอมระเหยจากใบโหระพา แมงลัก และสะระแหน่สวน ประกอบด้วย methylchavicol geranial และ piperitenone เป็นองค์ประกอบหลักตามลำดับ สารเหล่านี้ทำให้น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลางในส่วนของ syspathetic system ซึ่งสอดคล้องกับการนำพืชเหล่านี้มาใช้ธุรกิจสปาหรือคุคนธบำบัด
-
4919 การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี ของโหระพา แมงลัก และสะระแหน่สวน /project-computer/item/4919-2016-09-09-03-25-01_4919เพิ่มในรายการโปรด