การจัด Loop ของสนามแม่เหล็กบนดวงอาทิตย์โดยเกณฑ์ต่างๆ
วงสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์ (Solar magnetic loop) จะสังเกตเห็นได้ ในขณะที่เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงบนโลก หรือใช้อุปกรณ์พิเศษจากยานอวกาศเข้าช่วย ซึ่งการจะสังเกตเห็นวงสนามแม่เหล็กได้มากหรือน้อยนั้นเป็นตามวัฏจักรของดวงอาทิตย์ (Solar cycle ) ปรากฏการณ์การปะทุที่เกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์และทำให้เห็นวงสนามแม่เหล็ก ได้แก่ การปะทุ (flare) พวยก๊าซ (prominence) และการปลดปล่อยมวลสารจากโคโรนา (Coronal Mass Ejection หรือ CME ) และอื่นๆ เป็นต้น โดยวงสนามแม่เหล็กเหล่านี้เกิดจากไอออน(อนุภาคที่มีประจุ) ถูกกักในสนามแม่เหล็ก ดังนั้นเมื่อใช้แผ่นกรองแสงพิเศษซึ่งจะดูแสงเฉพาะความยาวคลื่นหนึ่งๆ จะเห็นวงสนามแม่เหล็กในดวงอาทิตย์ ผลการรวบรวมข้อมูลที่ได้มาจากยานอวกาศซึ่งมีการเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต (ข้อมูลเครือข่าย) พบว่า SML (Solar Magnetic Loop) มีลักษณะที่แตกต่างกัน ซึ่งเราสามารถหาเกณฑ์ในการจัดกลุ่มได้ดังนี้ ความถี่หรือความยาวคลื่น การเชื่อมต่อกันระหว่างบริเวณกัมมันต์ (active region) เหตุการณ์ที่เกิดพร้อมกับการเกิด loop อุณหภูมิ และชนิดของอนุภาคที่มีประจุ เป็นต้น ทั้งนี้การศึกษาเราพยายามเข้าใจและหาเหตุผลอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆของดวงอาทิตย์ให้มากขึ้น (เนื่องจากปัจจุบันนี้ มีเหตุการณ์หลายอย่างที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับดวงอาทิตย์ที่เราไม่สามรถอธิบายได้
-
5147 การจัด Loop ของสนามแม่เหล็กบนดวงอาทิตย์โดยเกณฑ์ต่างๆ /project-computer/item/5147-loopเพิ่มในรายการโปรด