การศึกษาการลดลงของอนุภาคพลังงานสูงตามเวลาจากการปะทุบนดวงอาทิตย์
ชื่อผู้ทำโครงงาน
เพิ่มพูน เพิ่มพรม
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
ดร.ฑิราณี ขำล้ำเลิศ
สถาบันการศึกษา
ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ระดับชั้น
ปริญญาโทขึ้นไป
หมวดวิชา
ฟิสิกส์
วัน/เดือน/ปี ทำโครงงาน
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาการลดลงของอนุภาคพลังงานสูงตามเวลาจากการปะทุบนดวงอาทิตย์ ในวันที่ 8 กันยายน 2548 ซึ่งเป็นเหตุการณ์การปะทุแบบทันทีทันใด (Impulsive Solar Flare) และวันที่ 14 ธันวาคม 2549 ซึ่งเป็นการปะทุแบบค่อยเป็นค่อยไป (Gradual Solar Flare) สำหรับธาตุ He, C, N, O, Ne, Mg, Si, S และ Fe ที่ระดับพลังงานต่างๆ โดยข้อมูลจากเครื่องมือ The Solar Isotope Spectrometer (SIS) บนยานอวกาศ Advanced Composition Explorer (ACE) ผลการศึกษาพบว่า ค่าดัชนีสเปกตรัม () ของเหตุการณ์การปะทุในวันที่ 8 กันยายน 2548 มีค่าอยู่ในช่วง 3.3192 – 5.255 ซึ่งสูงกว่าเหตุการณ์การปะทุในวันที่ 14 ธันว่าคม 2549 ที่มีค่าอยู่ในช่วง 2.149 – 3.0057 ซึ่งแสดงว่าการปะทุในวันที่ 8 กันยายน 2548 มีประสิทธิภาพในการเร่งอนุภาคสูงกว่าการปะทุในวันที่ 14 ธันวาคม 2549
คำสำคัญ
อนุภาค,พลัง,งาน,ปะ,ทุ,ดวง,อาทิตย์
ประเภท
Text
ลิขสิทธิ์
ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
เพิ่มพูน เพิ่มพรม
ระดับชั้น
ม.4, ม.5, ม.6
กลุ่มเป้าหมาย
ครู, นักเรียน
-
5622 การศึกษาการลดลงของอนุภาคพลังงานสูงตามเวลาจากการปะทุบนดวงอาทิตย์ /project-computer/item/5622-2016-09-09-03-39-36-5622เพิ่มในรายการโปรด
คุณอาจจะสนใจ
Hits (75507)
ให้คะแนน
Burkholderia pseudomallei เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรค เมลิออยโดซิส ...
Hits (72602)
ให้คะแนน
This research objectives were to study and compare moisture, modulus of maximum tensile stress and ...