การคำนวณอัตราส่วนไลดาร์และความลึกเชิงแสงของละอองลอยในชั้นบรรยากาศด้วยวิธีการจำลองเชิงตัวเลข
ชื่อผู้ทำโครงงาน
จุฑารัตน์ ศรวัฒนา รัตนวดี โมรากุล อมรรัตน์ ทองโชติ
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
รศ.อรุณีย์ อินทศร
สถาบันการศึกษา
ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ระดับชั้น
ปริญญาโทขึ้นไป
หมวดวิชา
ฟิสิกส์
วัน/เดือน/ปี ทำโครงงาน
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อ
โครงงานนี้เป็นการจำลองเชิงตัวเลขในการศึกษาการหาค่าอัตราส่วนไลดาร์และความลึกเชิงแสงของละอองลอยเชิงทฤษฎีของชั้นบรรยากาศ บริเวณที่เป็นพื้นทวีป และที่ความชื้นสัมพัทธ์ 90% ความยาวคลื่นแสงของเลเซอร์ 532 นาโนเมตร โดยคำนวณจากค่าการแจกแจงขนาดของละอองลอยขนาด 0.1-0.6 ไมโครเมตร ใน 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ละอองลอยละลายน้ำได้ ละอองลอยไม่ละลายน้ำ และเขม่า ผลการศึกษาพบว่าค่าดัชนีหักเหมีผลต่อสัมประสิทธิ์การกระเจิงกลับของละอองลอย ทำให้ได้ค่าอัตราส่วนไลดาร์เปลี่ยนแปลง โดยการศึกษาในโครงงานนี้ได้ค่าอัตราส่วนไลดาร์ประมาณ 68.81-70.59 sr และค่าความลึกเชิงแสงของละอองลอย 0.743 ตรงส่วนสูง 2 กิโลเมตรจากพื้นดิน แสดงว่าเป็นบรรยากาศบริเวณที่เป็นมลภาวะ ซึ่งละอองลอยที่ทำให้เกิดการลดทอนในปริมาณสูง คือ ละอองลอยละลายน้ำได้
คำสำคัญ
ไลดาร์,ความ,ลึก,เชิง,แสง,ละออง,ชั้น,บรรยากาศ,ตัว,เลข
ประเภท
Text
ลิขสิทธิ์
ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
จุฑารัตน์ ศรวัฒนา รัตนวดี โมรากุล อมรรัตน์ ทองโชติ
ระดับชั้น
ม.4, ม.5, ม.6
กลุ่มเป้าหมาย
ครู, นักเรียน
-
5724 การคำนวณอัตราส่วนไลดาร์และความลึกเชิงแสงของละอองลอยในชั้นบรรยากาศด้วยวิธีการจำลองเชิงตัวเลข /project-computer/item/5724-2016-09-09-03-41-15-5724เพิ่มในรายการโปรด
คุณอาจจะสนใจ
Hits (79172)
ให้คะแนน
รายงานการศึกษาพันธุศาสตร์เซลล์ครั้งแรกของเก้งธรรมดา (Muntiacus muntjak) ...
Hits (76500)
ให้คะแนน
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินบริเวณพื้นที่หมู่บ้านที่เข้าร่วม ...