การทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระขององค์ประกอบทางเคมีในเมล็ดคึ่นฉ่าย
นำส่วนประกอบของพืชสมุนไพร 5 ชนิด ได้แก่ ใบต้นอินทนิลน้ำ (Lagerstroemia speciosa (L.)Pers.) เนื้อไม้ของพญาสัตบรรณ(Alstonia scholaris (L.) R.Br.) ลำต้นแพงพวย (Catharanthus roseus (L.)G.Don.) เมล็ดของคึ่นฉ่าย (Apium graveolens L. var. dulce Pers.) และใบของหญ้างวงช้าง(Heliotropium indicum R.Br..) มาสกัดด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ 3 ชนิดคือ เฮกเซน เอทิลอะซิเตด และเมทานอล ตามลำดับ และนำสิ่งสกัดเฮกเซน เอทิลอะซิเตด และเมทานอล มาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วย DPPH โดยวิธี bioautographic พบว่าสิ่งสกัดเอทิลอะซิเตดของเมล็ดคึ่นฉ่าย แสดงฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระด้วย DPPH สูงกว่าสิ่งสกัดอื่น จึงศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของสิ่งสกัดดังกล่าวด้วยเทคนิคคอลัมน์โครมาโทกราฟีบนซิลิกาเจล นำสารที่แยกได้มาทดสอบระดับฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH พบว่าสารแสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยจะได้ทำการศึกษา วิจัยระดับการต้านอนุมูลอิสระขององค์ประกอบในเมล็ดคึ่นฉ่ายต่อไป ------------------------------------------------------------ The parts of 5 medicinal plants: leaves of Lagerstroemia speciosa (L.) Pers.,grains of Alstonia scholaris (L.) R.Br.,trunks of Catharanthus roseus (L.) G.Don.,seeds of Apium graveolens L. var. dulce Pers and leaves of Heliotropium indicum R.Br. were extracted with hexane,ethyl acetate and methanol,respectively. These extracts then were determined in terms of their free radical-scavenging activities against 2,2-diphenyl-1-picrylhydrasyl (DPPH) radical by bioautographic method.The ethyl acetate extract of seeds of Apium graveolens L. was found in higher quantities of DPPH scavenging acivity than others. Therefore, chemical constituents of this extract was investigated with silica gel column chromatography techniques. These compounds were isolated and measured the DPPH scavenging acivity quantitatively.The level of antioxidant in these chemical constituents will be studied.
-
6311 การทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระขององค์ประกอบทางเคมีในเมล็ดคึ่นฉ่าย /project-computer/item/6311-2016-09-09-03-49-06-6311เพิ่มในรายการโปรด