การศึกษายุคของไม้กลายเป็นหินที่ภูตากแดดอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์คือสำรวจซากดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหินและศึกษายุคของไม้กลายเป็นหิน ณ แหล่งศึกษาภูตากแดด อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร การหายุคของไม้กลายเป็นหินในแหล่งศึกษาทำได้โดยการหาตำแหน่งของภูตากแดดบนแผนที่ทางธรณีประกอบกับการศึกษาสีของชั้นดิน, การศึกษาขนาดของเนื้อดินจากการวัดขนาดของเม็ดดินทั้ง 4 ชั้น โดยใช้ตะแกรงร่อนเบอร์ 230 เมช และ 325 เมช และนำไปหาขนาดอนุภาคของดินด้วยกล้องจุลทรรศน์ ผลการวิจัยพบว่า 1. ตำแหน่งภูตากแดดบนแผนที่ธรณีมาตราส่วน 1:250,000 หมายเลข 1501 อยู่ในขอบเขตหมวดหินภูพาน 2. การศึกษาจากสีของชั้นดินของภูตากแดดพบว่ามีชั้นสีน้ำตาลแกมม่วง ชั้นสีส้มอ่อน ชั้นสีขาวและชั้นสีเทา ซึ่งเป็นสีของชั้นดินในหมวดหินภูพาน 3. การศึกษาขนาดของเนื้อดินจากการวัดขนาดของเม็ดดินทั้ง 4 ชั้นพบว่า เม็ดดินในแต่ละชั้นมีทั้งขนาด 0.06-2 มิลลิเมตร, 0.004-0.06 มิลลิเมตร และมีขนาดเล็กกว่า 0.004 มิลลิเมตร ซึ่งตรงกับขนาดของทรายทรายแป้ง และดินเคลย์ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบเม็ดดินที่มีขนาดใหญ่กว่า 2 มิลลิเมตรที่สามารถวัดขนาดได้ด้วยไม้บรรทัด ซึ่งตรงกับขนาดของกรวดเล็ก ขนาดของดินจากแหล่งศึกษาตรงกับคำอธิบายเนื้อดินของหมวดหินภูพาน ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเหล่านี้ล้วนสนับสนุนกันทำให้ทราบแน่ชัดว่าแหล่งศึกษาภูตากแดดนี้อยู่ในหมวดหินภูพาน ซึ่งตรงกับอายุช่วงตอนต้นของยุคครีเทเชียส ในการสำรวจไม้กลายเป็นหินในแหล่งศึกษาพบไม้กลายเป็นหินจำนวนมากกระจายอยู่ทั่วไปบนภูตากแดด บางบริเวณพบกระจายอยู่อย่างหนาแน่น และมีไม้กลายเป็นหินบางส่วนที่ถูกฝังอยู่ในดิน ------------------------------------------------------------- The purpose of this research were survey the Pertrified wood fossil and to study the Pertrified wood Period at Phu Tak dad Leung Nok Tha district Yasothon province. To study Pertrified Wood Period by found Phu Tak Dad position in geology map, study color of soil and study to soil particle from measurement of soil particle for soil level with used sieve number 230 mesh, 325 mesh and used microscope to search size of soil particle. The research findings were as follows : 1. Position Phu Tak Dad on map geology Scale 1:250,000 number 1501 was Phu Phan Formation boundary. 2. The color of soil level Phu Tak Dad fourd. To find brown purple soil level, light orange level,white level and grey level, who is color of soil level in Phu Phan Formation. 3. The soil particle from measured of soil particle 4 level found particle size 0.06 -2 millimeter,0.004–0.06 millimeter and smaller than 0.004 millimeter which to correspond size of sand, silt and clay respectively. Besides to find out that soil particle more than 2 millimeter measurement by ruler to correspond size of granule, this information to correspond explanation for soil of Phu Tak Dad Formation. Information to get from this study to support each other to make Know to Phu Tak Dad in Phu Phan Formation have life span in Cretaceous period.In survey the Pertrified Wood at study place to find many Pertrified Wood dispersed, someplace to find its condense dispersed have the Pertrified Wood to be buried in the ground.
-
6426 การศึกษายุคของไม้กลายเป็นหินที่ภูตากแดดอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร /project-computer/item/6426-2016-09-09-03-49-41-6426เพิ่มในรายการโปรด