รีดอกซ์กับการย้อมสีเส้นใยไหม
ผ้าไหมนับเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย คุณภาพจึงเป็นสิ่งที่กำหนดถึงราคา ซึ่งปัญหาของผ้าไหมที่มักจะประสบอยู่ในปัจจุบัน คือ ปัญหาการตกสีของผ้า อีกทั้งปัจจุบันได้มีการอาศัยปฏิกิริยารีดอกซ์มาประยุกต์ใช้ในการย้อมสีไนลอน ผู้จัดทำจึงสนใจที่จะนำวิธีการดังกล่าวมาใช้ในการย้อมสีเส้นใยไหม จากการทำการศึกษาและทดลองโดยแบ่งกลุ่มการทดลองของสารละลายที่ใช้ในการย้อมสีไหมโดยอาศัยปฏิกิริยารีดอกซ์เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ใช้สารละลายผสมของ กับ กลุ่มที่ 2 ใช้สารละลายผสมของ กับ กลุ่มที่ 3 ใช้สารละลายผสมของ กับที่มีความเข้มข้นต่างๆกัน คือ 10, 20, 30, 40, 50, 60, 70, 80 และ 90 mM พบว่าสารละลายที่ใช้ในปฏิกิริยารีดอกซ์ที่มีความเข้มข้น 20 mM กลุ่มที่ 1 มีค่าการติดของสีมากที่สุด เมื่อทดสอบสมบัติบางประการของเส้นใยไหม ได้แก่ความคงทนของสีต่อการซัก ความแข็งแรงต่อแรงดึงเปอร์เซ็นต์การหดตัวของผ้ามีค่ามากที่สุด การละลายใน NaOCl มีค่าน้อยที่สุด ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าการย้อมสีโดยใช้ 6% ซึ่งเป็นการย้อมในอุตสาหกรรม และการย้อมสีเส้นใยไหมโดยไม่ได้ใช้สารที่ช่วยในการย้อม และปริมาณเส้นใยไหมที่เหมาะสมในการย้อมสีเส้นใยไหมโดยอาศัยปฏิกิริยารีดอกซ์ ผู้ศึกษาจึงได้ทำการศึกษาความเข้มข้นของสารละลายที่ใช้ในการปฏิกิริยารีดอกซ์ ในช่วงเวลา 10-30 mM พบว่าความเข้มข้นของสารละลายที่เหมาะสมที่ใช้ในปฏิกิริยารีดอกซ์ คือ 10-12 mM ซึ่งมีค่าการติดสีย้อมเส้นใยไหมสูงที่สุดและมีค่าความคงทนของสีต่อการซักสูงที่สุด และปริมาณของเส้นใยไหมที่เหมาะสมต่อการย้อมสีเส้นใยไหมในช่วงความเข้มข้นของสารละลาย 10-12 mM คือ 0.75-0.90 g
-
6571 รีดอกซ์กับการย้อมสีเส้นใยไหม /project-computer/item/6571-2016-09-09-03-51-41-6571เพิ่มในรายการโปรด