ผลของสารสกัดจากรากต้นโลดทะนงต่อพิษงูเห่าไทย Interaction between thai cobra venom (Naja kaouthia) and the principle components from Lodthanong extract (Trigonostmon reidioides (Kurz) Creib)
ในปัจจุบันปัญหางูกัดเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญปัญหาหนึ่งของประเทศไทย ถึงแม้ว่าในสมัยนี้จะมีเซรุ่มแก้พิษงูแล้วก็ตาม แต่เซรุ่มเหล่านี้มักจะมีอยู่ตามโรงพยาบาลใหญ่ ๆ หรือในเมืองเท่านั้น ทำให้เวลาชาวบ้านที่อยู่ตามชนบทห่างไกลถูกงูพากัดมักจะถูกส่งโรงพยาบาลไม่ทัน ผลก็คืออาการเข้าขั้นรุนแรง และอาจเสียชีวิตได้ ดังนั้นการใช้สมุนไพรไทยเป็นแนวทางหนึ่งในการช่วยบรรเทาอาการจากการถูกงูพิษกัดหรือช่วยในการยืดอายุเวลาในการออกฤทธิ์หรือช่วยไปยับยั้งประสิทธิภาพในการทำงานของพิษงู จึงเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ โลดทะนงเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่ถูกบันทึกไว้ในตำรายาสมุนไพรว่ามีสรรพคุณแกพิษงูได้ โครงงานนี้จึงได้นำสาระสำคัญจากรากต้นโลดทะนงที่ได้เคยมีรายงานการค้นพบโครงสร้างสารมา docking กับพิษงูเห่าในส่วนที่เป็น neurotoxin 3 ซึ่งออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท โดยสารเคมีที่ได้นำมา docking คือ RediocideA , RediocideB,RediocideC,RediocideD, RidiocideE, Lotthanongine และ Afzelechib - ( ) - afzelechin ซึ่งผลที่ได้ออกมาพบว่าพลังงานในกานจับกันของสารเคมีกับ neurontoxin3 อยู่ที่ -8.17 ถึง -10.5 ตำแหน่งกรดอะมิโนของ neurotoxin3 ที่ไปจับกับสาระสำคัญจากรากต้นโลด คือ TYR21 , THR24 , LYS23 , TRP25 , และ LYS35 โดยมีระยะห่างของการจับระหว่าง 1.6 - 4.0 A และตำแหน่งของกรดอะมิโนใน neurontoxin3 ที่จับกับ acetylcholine receptor ก็มีบางบริเวณที่เป็นบริเวณเดียวกันกับที่สาระสำคัญจากรากสมุนไพรโลดทะนงไปจับด้วย ซึ่งผลที่ได้จากการ docking ทำให้สามารถอธิบายกลไลการแก้พิษงูของสมุนไพรโลดทะนงในระดับโมเลกุลได้ว่า สารเคมีในรากต้นโลดทะนงไปจับกับ neurotoxin3 ในบริเวณ bindind site จับกับ actyleholine receptor ทำให้ neurotoxin3 ที่เข้าสู่ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถไปจับกับ acetylcholine receptor ได้ ผลก็คือสารเคมีจากรากต้นโลดทะนงสามารถไปยับยั้งประสิทธิภาพการทำงานของพิษงูเห่าได้ นอกจากนี้โครงงานนี้ยังได้ทำการสกัดสารจากรากต้นโลดทะนงและนำไปทดสอบประสิทธิภาพในการทำงานของพิษงูเห่าในหลอดทดลอง (in vitro) โดยใช้เทคนิค SDS - PAGE เพื่อสนับสนุนการทดลองที่ได้จากการ docking อีกด้วย
-
4853 ผลของสารสกัดจากรากต้นโลดทะนงต่อพิษงูเห่าไทย Interaction between thai cobra venom (Naja kaouthia) and the principle components from Lodthanong extract (Trigonostmon reidioides (Kurz) Creib) /project-mathematics/item/4853-interaction-between-thai-cobra-venom-naja-kaouthia-and-the-principle-components-from-lodthanong-extract-trigonostmon-reidioides-kurz-creibเพิ่มในรายการโปรด