การศึกษามวลตกค้างเปรียบเทียบกับปริมาณทางฟิสิกส์
โครงงานนี้จัดทำขึ้นเพื่อหาปริมาณทางฟิสิกส์ที่มีความสัมพันธ์กับมวลตกค้าง ซึ่งคือ มวลของของเหลวที่เหลือจากการเทของเหลวนั้นๆลงในภาชนะแล้วเททิ้ง ซึ่งได้ตั้งเป้าหมายไว้ที่ความสัมพันธ์กับปริมาณทางฟิสิกส์สองชนิดก็คือ ความหนาแน่นของของเหลวและสัมปสิทธิ์ความหนืดของของเหลว โดยได้ทำการทดลองหาความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นของของเหลวกับมวลตกค้าง โดยใช้สารละลายคอปเปอร์ II ซัลเฟต (สารละลายจุนสีสะตุ) ละลายในน้ำกลั่นเพื่อให้มีความหนาแน่นต่างๆกัน โดยความหนาแน่นที่ใช้ทดลองคือ 1025, 1050, 1075, 1100, 1125 และ 1150 kg/m3 และการทดลองหาความสัมพันธ์ระหว่างสัมประสิทธิ์ของความหนืดกับมวลตกค้าง โดยใช้สารเคมีทั่วไปที่มีขายตามท้องตลาดคือ น้ำหวานตราเฮลบลูลอย, น้ำมันรำข้าว ตราชิม, น้ำยาปรับผ้านุ่ม ตรา Hygiene, น้ำยารีดผ้าเรียบ Fine line, น้ำกลั่น ซึ่งจากการทดลองบว่าสารเคมีทั้ง 5 มีความหนืดคือ 0.0623, 0.0537, 0.0353, 0.0295, 0.001 Pas ตามลำดับ จากผลการทดลองที่ได้ทำให้สรุปได้ว่าไม่สามารถหาความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นของของเหลวกับมวลตกค้างได้ และมวลตกค้างกับสัมประสิทธิ์ของความหนืดมีความสัมพันธ์กันแบบเชิงเส้น โดยมีค่า linear regression = 0.875 โครงงานนี้มีข้อจำกัดคือ ไม่ได้ทำการทดลองกับสารเคมีที่หลากหลาย รวมทั้งเครื่องชั่งที่ใช้วัดมีความละเอียดไม่มากพอ (4 ตำแหน่ง) ซึ่งโครงงานนี้สามารถทำการศึกษาต่อได้โดยศึกษาเพิ่มเติมกับปริมาณทางฟิสิกส์ที่คิดว่าน่าจะมีผลต่อมวลตกค้างเช่น พื้นที่ผิวของภาชนะ เป็นต้น ประโยชน์ที่ได้รับคือมีความเข้าใจในเรื่องของสถิติมากขึ้นสามารถใช้เครื่องชั่งและวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และทำให้ทราบว่าระหว่างมวลตกค้างกับสัมประสิทธิ์ของความหนืด มีความสัมพันธ์แบบเชิงเส้น
-
4948 การศึกษามวลตกค้างเปรียบเทียบกับปริมาณทางฟิสิกส์ /project-mathematics/item/4948-2016-09-09-03-25-09_4948เพิ่มในรายการโปรด