การศึกษาพฤติกรรม และศักยภาพในการเป็นพาหะนำโรคพยาธิหัวใจสุนัข ของ Culex quinquefasciatusและ Culex gelidus
เนื่องด้วยในขณะนี้โรคพยาธิหัวใจสุนัข (Canine Heartworm Disease) กำลังเป็นปัญหาสำคัญของวงการสัตวแพทย์ในประเทศหลายประเทศ อีกทั้งปัจจุบันการป้องกันโรคนี้ ยังคงเป็นวิธีที่ทำได้ยาก มีข้อจำกัดหลายประการเสียค่าใช้จ่ายสูง และเกิดผลเสียหายแก่ประเทศเป็นอย่างมาก สาเหตุของโรคนี้เกิดจากเชื้อ Dirofilaria immitis และมียุงเป็นพาหะ โดยหนึ่งในพาหะสำคัญคือ Cx. Quinquefasciatus ซึ่งจะพบได้ในแหล่งน้ำสกปรก เช่น ชานเมือง แต่ในการสำรวจยุงในเขตตปรากฏโรคแถบชานเมือง กลับพบสายพันธุ์มีจำนวนมากที่สุดคือ Cx. Gelidus จึงเป็นไปได้อีกเช่นกันว่า Cx. Gelidus จะเป็นพาหะอีกชนิดหนึ่งของโรคพยาธิหัวใจสุนัข งานวิจัยนี้จึงทำการศึกษาพฤติกรรมและศักยภาพในการเป็นพาหะนำโรคของยุง Cx. Gelidus และ Cx. Quinquefasciatus ด้านความหนาแน่นของประชากรยุงในช่วงเวลาล่าเหยื่อ (18.00-06.00 น.) โดยใช้การเก็บตัวอย่างจากดับดักแสงไฟ (Light trap) , วงจรการดูดกินเลือด (biting cycle)ในเวลาครึ่งคืน (18.00-24.00น.) โดยการ Landing Catch เพื่อเก็บข้อมูลในแต่ละชั่วโมง, พฤติกรรมการพักตัว (resting behavior) โดยการวิเคราะห์ระยะยุงเพศเมียที่เข้ามาเกาะพักในกล่องที่กำหนด และความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ในการดำรงชีวิต จากการวิเคราะห์อัตราส่วนยุงเก่า (parous) ต่อยุงใหม่ (nulliparous) ผลการปฏิบัติงานโดยพิจารณาจากเฉลี่ยค่า ทางสถิติของข้อมูลจากการทดลองแต่ละครั้งตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายนที่ทำการทดลองสรุปได้ว่าช่วงต้นฤดูฝน Cx. Quinquefasciatus มีความหนาแน่นของประชากรยุง 56 ตัวต่อกับดักต่อคืน , มีวงจรการดูดกินเลือด โดยจะเริ่มเข้าหาเหยื่อตั้งแต่ช่วงเวลา 18.30 – 19.30 น. และจะมีปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ จนมากที่สุด ในช่วง 21.30 – 22.30 น. จากนั้น จำนวนจะลดน้อยละเล็กน้อยแล้วจึงค่อนข้างคงที่มีจำนวนเฉลี่ย 4.69 ตัวต่อคนต่อชั่วโมง โดยมีช่วงต่ำสุดและสูงสุดตั้งแต่ 0.25-10.25 ตัวต่อคนต่อชั่วโมง ด้านพฤติกรรมการเกาะพักพบว่ายุงสายพันธุ์นี้ชอบเข้ามาเกาะพักในที่มืดสนิท อุณหภูมิต่ำและมีความชื้นเล็กน้อย ตั้งแต่ระยะหลังดูดกินเลือดใหม่ๆ (Freshy blood fed) จนถึงยุงที่พร้อมวางไข่ (gravid) โดยมียุงที่ดูดกินเลือดใหม่ๆในสัดส่วน 60% ของยุงเกาะพักทั้งหมด นอกจากนี้พบว่าสภาพพื้นที่นี้เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของยุงสายพันธุ์นี้เนื่องจากอัตราส่วนยุงที่ตายไปต่อยุงที่เกิดใหม่มาทดแทนมีจำนวนใกล้เคียงกัน (51.57 : 48.43) ส่วนสายพันธุ์ Cx. Gelidusพบว่ามีความหนาแน่นของประชากรยุง 125.75 ตัวต่อกับดักต่อคืน มีวงจรการดูดกินเลือด โดยจะเริ่มเข้าหาเหยื่อตั้งแต่ช่วง 18.30 – 19.30 น. เช่นกัน แต่มีปริมาณมากขึ้นอย่างรวดเร็วจนมีจำนวนมากที่สุดในช่วง 19.30 – 20.30 น. จากนนั้น จำนวนจะลดลงเล็กน้อย แต่ก็ยังคงมีปริมาณสูง, มีจำนวนเฉลี่ยน 13.83 ตัวต่อคนต่อชั่วโมง โดยมีช่วงต่ำสุดและสูงสุดตั้งแต่ 1.75 – 19.50 ตัวต่อคนต่อชั่วโมง ด้านพฤติกรรมการพักตัวพบว่าที่มืดสนิท และเนื่องจากพบยุง Cx. Gelidus น้อยมากจนไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จึงสรุปได้ว่าสถานที่ที่มีอุณหภูมิต่ำและมีความชื้นเล็กน้อยไม่ใช่สถานที่ที่เหมาะสมต่อการเกาะพัก นอกจากนี้พบว่าสภาพพื้นที่นี้เหมาะสมแก่การเพาะพันธุ์และดำรงชีวิตของยุงสายพันธุ์นี้เช่นกัน เนื่องจากมีอัตราส่วนยุงเก่าต่อยุงใหม่เป็น 59.57 : 40.43 ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกัน ส่วนด้านศักยภาพในการเป็นพาหะพบว่ายุงทั้งสองสายพันธุ์ในเขตพื้นที่และช่วงเวลาทำการศึกษานี้พบว่าไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่ามีศักยภาพในการเป็นพาหะ เนื่องจากตรวจไม่พบพยาธิ D. immitis ไม่ว่าในส่วนหัว อก หรือท้อง ของยุงที่จับได้จากการ Landing Catch ตลอดระยะเวลา 4 เดือนที่ทำการทดลองเลย จากข้อมูลที่ได้นี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการหาวิธีที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในการลดความเสี่ยงจากการติดโรคในพื้นที่นี้ หรืออาจใช้เป็นแนวทางการศึกษาพฤติกรรมของยุงที่เป็นพาหะโรคอื่นๆ ที่กำลังเป็นปัญหาอยู่เช่นกันในปัจจุบัน เช่น โรคไข้สมองอักเสบ, แผนการศึกษาในครั้งนี้ยังสามารถใช้เป็นตัวอย่างในการประยุกต์ใช้ศึกษายุงที่เป็นพาหะในเขตปรากฏโรคขั้นวิกฤตอื่นๆในประเทศไทยหรือประเทศแถบเขตร้อนที่พบโรคนี้ได้ และยังเป็นส่วนหนึ่งขององค์ความรู้ใหม่ อันเป็นพื้นฐานในการศึกษาในขั้นสูงต่อไปในอนาคต
-
4964 การศึกษาพฤติกรรม และศักยภาพในการเป็นพาหะนำโรคพยาธิหัวใจสุนัข ของ Culex quinquefasciatusและ Culex gelidus /project-mathematics/item/4964-culex-quinquefasciatus-culex-gelidusเพิ่มในรายการโปรด