การศึกษาความคงทนต่อสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมของเชื้อBurkholderia pseudomallei
Burkholderia pseudomallei เป็นแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคเมลิออยโดซิล ( melikidosis ) ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อที่พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เอแบคทีเรียชนิดนี้สามารถอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ( Stress conditions ) เช่น ในสภาวะที่มีความเป็นกรด มีความเข้มขันของเกลือสูง ในอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม หรือในสภาวะขาดแคลนอาหาร การทนต่อสภาวะที่ไม่เหมาะสมของเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ทำให้เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้สามารถแอบแฝง (dormancy ) อยู่ในร่างกายของผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อนี้เป็นเวลานานและรอเวลาที่ร่างกายของผู้ป่วยอ่อนแอลง เพื่อที่จะแสดงอาการของโรค การศึกษาความคงทนต่อสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมของ B. pseudomallei ในสภาวะแวดล้อมที่มีความเป็นกรด-เบส และเกลือในระดับ ต่างๆ กัน ทำให้เกิดความเข้าใจในสาเหตุและสภาวะแวดล้อมที่ทำให้เกิดการปรับตัว ( adaptation ) เพื่ออยู่รอดของ B. pseudomallei จึงได้การทดลองโดยนำ B. pseudomallei และแบคทีเรียใน genus Burkholderia มาเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดต่างๆ ได้แก่ LB-broth minimum media ที่เติมด้วยกลูโคส 10 % และน้ำกลั่นที่เติมด้วยกลูโคส 10 %และหาเส้นทางแนวโน้มในการเจริญเติบโต ( growth curve ) ผลปรากฏว่าในอาหารเลี้ยงเชื้อทุกชนิด แบคทีเรียใน growth Burkholderia เข้าสู่ระยะ stationary phase ที่ระยะเวลา 14 ชั่งโมงเป็นต้นไป และนำข้อมูลที่ได้รับไปทำการทดลองเพื่อศึกษาความคงทนต่อสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมของเชื้อ B. pseudomallei ต่อไป การศึกษาสภาวะที่ไม่เหมาะสมที่มี pH เป็นปัจจัย ( Acid-Base Stress Conditions ) ได้ทำการเลี้ยง B. pseudomallei และ Pseudomonas aeruginose ระยะ Stationary Phase ในอาหารเลี้ยงเชื้อ LB-broth ที่ปรับ pH เป็น 4 ,7 และ12 เลี้ยงไว้ที่อุณหภูมิ เป็นเวลา 9 ชั่งโมงโดยการเก็บเชื้อที่เวลา 0,1,2,3,6 และ 9ชั่งโมงมา Spread ลงบน LB-broth เพื่อนับจำนวนโคโลนี ปรากฏว่า B. pseudomallei และ P. aeruginosa สามารถเจริญได้ดีที่สุดใน LB-broth pH = 7 และเจริญได้ใน LB-broth pH= 4 แต่ไม่สามารถเจริญได้เลยใน LB-broth pH= 12 การศึกษาสภาวะที่ไม่เหมาะสมที่มีความเข้มของเกลือเป็นปัจจัย ( Osmotic Stress Conditions ) ได้ทำการเลี้ยง B. pseudomallei และ P. aeruginosa ระยะ Stationary phase ในอาหารเลี้ยงเชื้อ LB-broth ที่มีเกลือ NaCL 0.09,2.09 แ ละ 4.09 M เลี้ยงไว้ที่อุณหภูมิ เป็นเวลา 9 ชั่งโมง โดยทำการเก็บเชื้อที่เวลา 0,3,6 และ 9 ชั่งโมง มา spread ลงบน LB-broth plate เพื่อนับจำนวนโดโลนี ปรากฏว่า B. pseudomallei สามารถทนได้ลดลง เมื่อความเข้มข้นของเกลือและเวลาในการเลี้ยงเพิ่มขึ้น และ ณ เวลา 9 ชั่งโมง ที่ LB-broth ที่มีเกลือ 2.09 และ 4.09 M ไม่มี โคโลนีของ B. pseudomallei ขึ้นเลย ส่วน P. aeruginosa สามารถทนได้ลดลงเมื่อความเข้มขันเกลือเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน แต่ ณ เวลา 9 ชั่วโมง ที่ LB-broth ที่มีเกลือ 2.09 M ยังมีโคโลนีของ P. aeruginosa จากการศึกษาข้างต้นทั้งหมดนี้ทำให้ได้ข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ในการศึกษาสาเหตุที่ทำให้ B. pseudomallei เป็นเชื้อที่มีความทนทานสูง และสามารถก่อให้เกิดการแอบแฝงในการเกิดโรค melioidosis ในระดับ molecular genetics ต่อไป
-
4995 การศึกษาความคงทนต่อสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมของเชื้อBurkholderia pseudomallei /project-mathematics/item/4995-burkholderia-pseudomallei_4995เพิ่มในรายการโปรด