การศึกษาส่วนประกอบทางเคมีและการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพบางประการของต้นของชะนางแดง
โครงงานนี้มีจุดประส่งเพื่อหาส่วนประกอบทางเคมีและทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพบางประการของต้นขอบชะนางแดง โดยนำสิ่งสกัดหยาบไปทดสอบการด้านเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเน่าในพืชตระกูลส้ม และเชื้อรา Fusarium oxysporum ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเน่าใน ต้นมะเขือเทศ พบว่าสามารถยับยั้งเชื้อราทั้ง 2 ชนิดได้จากนั้นนำลำต้นของต้นขอบชะแนงแดงมาสกัดด้วยเฮกเชน ครอโรฟอร์ม และเมทานอล ตามลำดับโดยใช้ Soxhiet extraction apparatus แล้วนำสิ่งสกัดที่ได้ไปทดลองกับ Artemia salina ปรากฏว่า สิ่งสกัดทั้งสามไม่เป็นพิษมีอันตรายต่อ Artemia salina น้อยมาก จากนั้น นำสิ่งสกัดเฮกเซนและเมทานอลมาแยกด้วยเทคนิคคอลัมน์โครมาโทรกราฟี ซึ่งขณะนี้สามารถแยกสารบริสุทธิ์ได้ทั้งหมด 10 ชนิด โดยมาจากสิ่งสกัดเฮกเซน 7 ชนิดเป็นสารโซ่ยาว 2 ชนิด ไตรเทอร์พีน 2 ชนิดคือ Friedelinและ Friedelinol และสเตียรอยด์ 1 ชนิด คือ B - Sitosterol ส่วนอีก 2 ชนิด กำลังรอผล NMRสเปกตรัม และสิ่งสกัดเมทานอล แยกได้สารนริสุทธิ์ 3 ชนิด โดยเป็นสารในกลุ่มไฮโดรคาร์บอนสายโซ่ยาว 2 ชนิด และกำลังรอผล NMR สเปกตรัมอีก 1 ชนิด
-
5008 การศึกษาส่วนประกอบทางเคมีและการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพบางประการของต้นของชะนางแดง /project-mathematics/item/5008-2016-09-09-03-25-26_5008เพิ่มในรายการโปรด