การศึกษาผลของสารละลายน้ำกะปิต่อการเร่งการงอกรากของผักกาดภูหิน (Sonchus arvensis) เพื่อทดแทนการ ใช้ฮอร์โมนเร่งรากพืชจากสารเคมี
เกษตรกรนำภูมิปัญญาชาวบ้านเกี่ยวกับการนำกะปิมาทำเป็นสารละลาย ใช้เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช และผลการศึกษาจากโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยได้ศึกษาเบื้องต้น พบว่าสารละลายน้ำกะปิสามารถใช้แทนฮอร์โมนเร่งรากพืชจากสารเคมีได้จริง แต่เกษตรกรไมได้ใช้กันแพร่หลาย เพราะความเข้าใจที่ว่า “ฮอร์โมนเร่งรากพืชที่ทำมาจากสารเคมี น่าจะเร่งรากพืชได้ดีกว่า” และยังขาดข้อมูลที่แน่นอน งานวิจัยในครั้งนี้ แบ่งการทดลองเป็น 3 การทดลองคือ การทดลองที่ 1 การทดลองเพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการเร่งรากพืชที่ความเข้มข้นต่างๆ ของสารละลายน้ำกะปิสด และสารละลายน้ำกะปิผง โดยเปรียบเทียบความสามารถในการเร่งรากพืชที่ความเข้มข้นต่างๆ ของสารละลายน้ำกะปิสด และสารละลายน้ำกะปิผง โดยเปรียบเทียบกับฮอร์โมนเร่งรากพืชจากสารเคมี (2,4-D) และกลุ่มที่ไม่ใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชในการเร่งราก (น้ำกลั่น) การทดลองที่ 2 การทดลองเพื่อศึกษาผลของความร้อนต่อการ denature ของ active ingredient ที่เกี่ยวข้องกับการเร่งรากพืช ของสารละลายน้ำกะปิที่ผ่านการ autoclave (121 องศาเซลเซียส) และสารละลายน้ำกะปิที่ผ่านการกรอง bacteria โดยเปรียบเทียบกับฮอร์โมนเร่งรากพืชจากสารเคมี (2,4-D) และกลุ่มที่ไม่ใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชในการเร่งราก (น้ำกลั่น) การทดลองที่ 3 การทดลองเพื่อศึกษาความสามารถในการข่มการเจริญของ ตาข้าง ของสารละลายน้ำกะปิที่ผ่านการ autoclave (121 องศาเซลเซียส) สารละลายน้ำกะปิที่ผ่านการกรอง bacteria และฮอร์โมนเร่งรากพืชจากสารเคมี (IAA) โดยเปรียบเทียบกับกิ่งชำธรรมดา, กิ่งชำที่มีการตัดยอดแล้วฉีดน้ำกลั่นใส่บริเวณที่มีการตัดยอดจาก การทดลองที่ 1 พบว่า น้ำกลั่น มีประสิทธิภาพในการเร่งรากดีที่สุด เพราะใช้ระยะเวลาในการเกิดรากน้อยที่สุด คือ 8 วัน ฮอร์โมนเร่งรากพืชจากสารเคมี (2,4-D) ไม่สามารถเกิดราก แต่เกิด callus ได้ จากการทดลองที่ 2 พบว่า ความร้อนไม่มีผลต่อการ denature ของ active ingredient ที่เกี่ยวข้องกับการเร่งรากพืช ดังนั้น active ingredient ที่เกี่ยวข้องกับการเร่งรากพืชจึงไม่ใช่ thiamine ดังที่ตั้งสมมติฐานไว้ และสารละลายน้ำกะปิทั้ง 2 ชนิด มีประสิทธิภาพในการเร่งราก สารละลายน้ำกะปิที่ผ่านการ autoclave ใช้ระยะเวลาในการเกิดรากน้อยที่สุด คือ 9 วัน และสารละลายน้ำกะปิที่ผ่านการกรอง bacteria มีความยาวเฉลี่ยของราก/ต้นมากที่สุด คือ 10.88 cm จากการทดลองที่ 3 พบว่า กิ่งชำที่มีการตัดยอดฉีดสารละลายน้ำกะปิที่ผ่านการ autoclave (121 องศาเซลเซียส) และกิ่งชำที่มีการตัดยอด ฉีดสารละลายน้ำกะปิที่ผ่านการกรอง bacteria มีแนวโน้มไม่ใช่ auxins
-
5083 การศึกษาผลของสารละลายน้ำกะปิต่อการเร่งการงอกรากของผักกาดภูหิน (Sonchus arvensis) เพื่อทดแทนการ ใช้ฮอร์โมนเร่งรากพืชจากสารเคมี /project-mathematics/item/5083-sonchus-arvensisเพิ่มในรายการโปรด