ศึกษาความเป็นไปได้ในการย่อยสลายพลาสติกประเภทพอลิเอทธีลีน (PE) ด้วยจุลินทรีย์
การศึกษาความเป็นไปได้ในการย่อยสลายพลาสติกประเภทพอลิเอทธีลีนด้วยการใช้จุลินทรีย์จากดิน โดยศึกษาจากพฤติกรรมการดำรงชีพของจุลินทรีย์ ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จำเป็นต้องใช้ธาตุอาหารต่างๆในการดำรงชีพ คาร์บอนเป็นแหล่งอาหารสำคัญที่จุลินทรีย์ต้องใช้ เราจึงทำการศึกษาการใช้แหล่งคาร์บอนของจุลินทรีย์ ซึ่งได้มีการนำตัวอย่างดินมาจากกองขยะซึ่งเป็นบริเวณสำหรับถมขยะประเภทพลาสติก โดยเก็บตัวอย่างดินบริเวณ 5 จุดต่างกัน จากนั้นนำดินที่ได้ในแต่ละจุดมาแยกเป็น 4 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 นำดินตัวอย่างไปเพาะเชื้อในอาหารเหลว Glucose salt medium ซึ่งเป็นอาหารเลี้ยงเชื้อที่มี Glucose เป็นแหล่งคาร์บอน เพื่อเป็นการศึกษาดูว่าในดินนั้นมีเชื้อจุลินทรีย์ใดอยู่บ้าง กลุ่มที่ 2 นำตัวอย่างดินไปเพาะเชื้อในอาหารเหลว Salt medium ซึ่งไม่มีแหล่งคาร์บอน นำทั้ง 2 กลุ่มไปบ่มที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส 120 ชั่วโมง สำหรับ 2 การทดลองที่กล่าวมานี้เป็นการทดสอบว่าเชื้อมีความจำเป็นต้องใช้คาร์บอนในการดำรงชีวิต จากนั้นนำเชื้อทั้งหมดมา Streak บนอาหารแข็ง Glucose salt medium Agar แล้วนำทั้ง 2 กลุ่มไปบ่มที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส 120 ชั่วโมง โดยกลุ่มที่ 1 มีเชื้อแบคทีเรียและราขึ้นทั้ง 5 ตัวอย่าง แต่ในกลุ่มที่ 2 พบแบคทีเรียขึ้นเพียงเล็กน้อยในบางตัวอย่าง ในขณะที่บางตัวอย่างไม่พบเชื้อจุลินทรีย์เลย จากนั้นนำดินกลุ่มที่ 3 มาเพาะเลี้ยงเชื้อในอาหารเหลวที่ใช้ PE เป็นแหล่งคาร์บอนเพียงแหล่งเดียวในอาหารเลี้ยงเชื้อนั้น นำไปบ่มที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส 120 ชั่วโมง จากนั้นดูดอาหารเหลวเดิมมา 10 ml และนำ PE จากอาหารเหลวเดิมมาใส่ลงในอาหารเหลวใหม่ที่ไม่มีแหล่งคาร์บอนใดๆเลย เพื่อเป็นการกำจัดจุลินทรีย์ที่ไม่สามารถใช้ PE เป็นแหล่งคาร์บอนได้ออกไป เพราะเชื้อจุลินทรีย์ในขณะนี้อาจดำรงชีพได้ด้วยแหล่งคาร์บอนและแร่ธาตุอื่นๆจากดิน นำไปบ่มที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส 120 ชั่วโมง ทำเช่นนี้ทั้งสิ้น 5 ครั้ง จากนั้นนำมา Streak บนอาหารเลี้ยงเชื้อแข็งที่มี Glosose เป็นแหล่งคาร์บอนเพื่อดูว่ามีเชื้ออะไรบ้าง และนำเอา PE มาวางบนอาหารแข็งเช่นกันเพื่อศึกษาดูเชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้ PE เป็นแหล่งคาร์บอน พบว่าทั้ง 5 ตัวอย่างมีจุลินทรีย์ขึ้น 3 ลักษณะคือ 1. เป็นแบคทีเรียลักษณะโคโลนีมีสีส้ม เซลล์มีลักษณะเป็นแท่งสั้น ติดสีแกรมลบ 2. แบคทีเรียลักษณะโคโลนีมีสีขาวขุ่น นูน มัน เซลล์มีลักษณะเป็นแท่งสั้น ติดสีแกรมลบ 3. เป็นแบคทีเรียลักษณะโคโลนีมีสีขาวขุ่น เซลล์มีลักษณะกลม ติดสีแกรมลบ ซึ่งแบคทีเรียทั้ง 3 ลักษณะสามารถใช้ PE เป็นแหล่งคาร์บอนได้ นั่นก็แสดงว่า PE ต้องมีการย่อยสลาย ด้วยเหตุนี้จึงสรุปได้ว่าแบคทีเรียทั้ง 3 ลักษณะนี้มีความเป็นไปได้ในการย่อยสลายพลาสติกประเภทพอลิเอทธีลีนได้ ส่วนกลุ่มที่ 4 นำดินตัวอย่างทั้ง 5 จุมาทำการฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส ความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว จากนั้นนำตัวอย่างดินมาเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลว Glucose salt medium นำไปบ่มที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส 120 ชั่วโมง แล้วนำมา Streak บนอาหารเลี้ยงเชื้อแข็งที่มี Glucose เป็นแหล่งคาร์บอนเพื่อดูว่ามีเชื้ออะไรบ้างเพื่อเป็นการยืนยันว่าเชื้อที่ได้จากกลุ่มที่ 1-3 นั้นมาจากดินตัวอย่างจริง ซึ่งจากการทดลองนี้เราไม่พบเชื้อจุลินทรีย์ขึ้นบนอาหารแข็งเลย ทำให้สรุปได้ว่าแบคทีเรียทั้ง 3 ลักษณะซึ่งได้จากดินนี้ มีความเป็นไปได้ในการย่อยสลายพลาสติกประเภทพอลิเอทธีลีนได้
-
5088 ศึกษาความเป็นไปได้ในการย่อยสลายพลาสติกประเภทพอลิเอทธีลีน (PE) ด้วยจุลินทรีย์ /project-mathematics/item/5088-peเพิ่มในรายการโปรด