ศึกษาเปรียบเทียบลักษณะทางสัณฐานวิทยาของอึ่งข้างดำ อึ่งน้ำเต้า และคางคกแคระ
ชื่อผู้ทำโครงงาน
อาภาพรรณ ประกอบการ
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
ดร.ศันสรียา วังกุลางกูร
สถาบันการศึกษา
ภาคชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ระดับชั้น
ปริญญาโทขึ้นไป
หมวดวิชา
ชีววิทยา
วัน/เดือน/ปี ทำโครงงาน
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อ
จากการศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของลักษณะทางสัณฐานวิทยาและเนื้อเยื่อวิทยาของอึ่งข้างดำ(Microhyla heymonsi) อึ่งน้ำเต้า (Microhyla ornata) และคางคกแคระ (Bufo parvus) พบว่าขนาดกะโหลกของอึ่งข้างดำ (ความกว้างเฉลี่ย 5.85±0.01 มม. ความยาวเฉลี่ย 4.23±0.15 มม.) และอึ่งน้ำเต้า(ความกว้างเฉลี่ย 6.35±1.13 มม. ความยาวเฉลี่ย 4.85±0.53 มม.) มีขนาดเล็กกว่ากะโหลกของคางคกแคระ(ความกว้างเฉลี่ย 11.58±2.04 มม. ความยาวเฉลี่ย 9.20±0.29 มม.) สัดส่วนความกว้างต่อความยาวเฉลี่ยของกะโหลกของอึ่งข้างดำ (1.42±0.22 มม.) และ อึ่งน้ำเต้า(1.31±0.08 มม.) มีค่ามากกว่าของคางคกแคระ(1.26±0.12 มม.) การศึกษาเปรียบเทียบทางเนื้อเยื่อวิทยา พบว่ามีส่วนประกอบหลักเหมือนกันได้แก่ชั้นเอพิเดอร์มิส และชั้นเดอร์มิส อึ่งข้างดำและอึ่งน้ำเต้า มีจำนวนของต่อมเมือกและต่อมพิษต่างกัน
คำสำคัญ
สัณฐาน,วิทยา,อึ่ง,ข้าง,ดำ,อึ่ง,น้ำเต้า,คางคก,แคระ
ประเภท
Text
ลิขสิทธิ์
ภาคชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
อาภาพรรณ ประกอบการ
ระดับชั้น
ม.4, ม.5, ม.6
กลุ่มเป้าหมาย
ครู, นักเรียน
-
5394 ศึกษาเปรียบเทียบลักษณะทางสัณฐานวิทยาของอึ่งข้างดำ อึ่งน้ำเต้า และคางคกแคระ /project-mathematics/item/5394-2016-09-09-03-36-57-5394เพิ่มในรายการโปรด
คุณอาจจะสนใจ
Hits (73385)
ให้คะแนน
น้ำมันหอมระเหยที่ได้จากการกลั่นจากใบสาบแมวด้วยไอน้ำ เมื่อนำมาทดสอบผลต่อลูกน้ำยุง และตัวยุงเต็มวัย ...
Hits (76752)
ให้คะแนน
การทำให้บาง ( Thinning ) เป็นกระบานการสำคัญอย่างหนึ่งในการประมวลผลรูปภาพ ( Image Processing ) ...
Hits (76353)
ให้คะแนน
รายงานนี้นำเสนอผลงานการพัฒนาโปรแกรม OX สั่งงานด้วยเสียงตัวเลขภาษาไทยแบบเจาะจงผู้พูด ...