การประมวลผลข้อมูลคลื่นไหวสะเทือนแบบสะท้อนสองมิติทางทะเลโดยเทคนิคการกำจัดคลื่นสะท้อนซ้ำแบบเทาพี
ในปีคริสต์ศักราช 1984 ได้มีการสำรวจทางด้านคลื่นไหวสะเทือนแบบสะท้อนสองมิติ ทางทะเล ขึ้นในประเทศไทย ที่บริเวณทะเลอันดามัน และได้มีการประมวลผลและแปลความหมายคลื่นไหวสะเทือนแบบสะท้อนสองมิติมาแล้วในปีเดียวกัน แต่ครั้งนั้นภาพตัดขวางคลื่นไหวสะเทือนที่ประมวลผลได้ ไม่สามารถบ่งชี้ ถึงแหล่งกักเก็บน้ำมันและก๊าซธรรมชาติได้ ดังนั้นการศึกษาค้นคว้าอิสระในครั้งนี้ จะเป็นการนำข้อมูลจากการสำรวจในครั้งนั้น มาประมวลผลใหม่ โดยใช้กระบวนการใหม่ และซอร์ฟแวร์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเน้นที่การกำจัดคลื่นสะท้อนซ้ำ ด้วยเทคนิค เทา-พี คือ การแปลงข้อมูลคลื่นไหวสะเทือนจาก โดเมนที-เอกซ์ให้อยู่ในโดเมน เทา-พี เทาคือเวลาที่ ออฟเซตเท่ากับศูนย์ และพี คือเรย์พารามิเตอร์ จากนั้นใช้กระบวนการกำจัดคลื่นสะท้อนซ้ำ พรีดิกทีฟดีคอนโวลูชัน เพื่อดึงเอาสัญญาณคลื่นสะท้อนซ้ำออก จากนั้นจึงแปลงข้อมูลกลับมาในโดเมน ที-เอกซ์ ดังเดิม ด้วยเทคนิคนี้จะทำให้ได้ภาพตัดขวางทางคลื่นไหวสะเทือนที่ดีขึ้น และสามารถนำไปแปลความหมายเพื่อหา แหล่งกักเก็บน้ำมันและก๊าซธรรมชาติได้ในอนาคต
-
5612 การประมวลผลข้อมูลคลื่นไหวสะเทือนแบบสะท้อนสองมิติทางทะเลโดยเทคนิคการกำจัดคลื่นสะท้อนซ้ำแบบเทาพี /project-mathematics/item/5612-2016-09-09-03-39-33เพิ่มในรายการโปรด