ผลของการทำการเกษตรแบบไร่หมุนเวียนต่อการเปลี่ยนแปลงแทนที่ของสังคมพืชและความอุดมสมบูรณ์ของดิน
บ้านหนองขาว ต.ห้วยปูลิง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน เป็นหมู่บ้านชาวกะเหรี่ยง มีรูปแบบการทำ การเกษตรแบบไร่หมุนเวียน โดยจะทำการปลูกข้าวไร่ 1 ปี แล้วทิ้งพื้นที่ไว้ 10 ปี จากการสำรวจชนิดของพันธุ์ไม้พื้นล่างในไร่ร้างที่ถูกทิ้งเป็นระยะเวลา 1, 3, 5, 7 และ 9 ปี พบพันธุ์ไม้จำนวน 119, 133, 133, 139และ 142 ชนิดตามลำดับ ซึ่งในไร่ร้างอายุ 1 และ 3 ปี มีสาบเสือ และหญ้าปกคลุมอยู่อย่างหนาแน่น และจะมีปริมาณลดลงในแปลงที่อายุมากขึ้น จากการวิเคราะห์คุณภาพดินพบว่า ค่าpH ปริมาณโพแทสเซียม และฟอสฟอรัส ลดลงหลังการทำการเกษตร ส่วนปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ไนโตรเจน และค่าไอออนบวกทั้งหมดในดินนั้น เพิ่มขึ้นตามอายุของแปลง ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- Abstract: Nong Khao Village is Karen village in Huai Pu Ling Sub-district, Muang District, Mae Hong Son Province. Rotational Shifting Cultivation in this village has planted upland rice period for one year and fallow period for 10 years. According to the survey of ground flora in 1, 3, 5, 7 and 9-year fallow field were found plant 119, 133, 133, 139 and 142 species. The dominant species in 1 and 3-year fallow field are Eupatorium odoratum L. and grasses. From soil fertility analysis, it was found that pH, phosphorus and potassium were reduced while organic matter nitrogen and soil cation exchange capacity were increased along the fallow period.
-
6059 ผลของการทำการเกษตรแบบไร่หมุนเวียนต่อการเปลี่ยนแปลงแทนที่ของสังคมพืชและความอุดมสมบูรณ์ของดิน /project-mathematics/item/6059-2016-09-09-03-45-24-6059เพิ่มในรายการโปรด