การดัดแปรน้ำยางธรรมชาติให้เป็นเรซินแลกเปลี่ยนอิออน โดยผ่านปฎิกิริยาโอโวโนไลซิส
งานวิจัยนี้เป็นการนำยางธรรมชาติมาประยุกต์ใช้ในการกำจัดโลหะหนัก โดยดัดแปรน้ำยางธรรมชาติให้เป็นเรซินแลกเปลี่ยนอิออน ซึ่งทำได้โดยการทำให้โมเลกุลของยางธรรมชาติสั้นลง และมีหมู่ฟังก์ชันอัลดีไฮด์กับคีโตนที่ปลาย โดยใช้ปฎิกิริยา โอโซโนไลซิสตามด้วยการดัดแปรโครงสร้างโมเลกุลให้มีหมู่ฟังก์ชันที่สามารถแลกเปลี่ยนอิออนได้ โดยอาศัยปฎิกิริยาการเติมที่พันธะคู่ของยางที่ได้จากการทำปฎิกิริยาโอโซโนไลซิส จะได้หมู่แลกเปลี่ยนอิออนคาร์บอกซิเลตและซัลโฟเนต เรซินที่เตรียมได้มีทั้งหมด 3 ชนิด คือ LA180, LA240, และLA300 ซึ่งเป็นเรซินที่เตรียมจากการเติมที่พันธะคู่ของยางธรรมชาติน้ำหนักโมเลกุลเฉลี่ย 5600, 2600, และ1000 กรัมต่อโมล ตามลำดับ จากการศึกษาสภาวะที่เหมาะสม และประสิทธิภาพในการบำบัดอิออนโลหะหนักของ เรซินทั้ง 3 ชนิด พบว่า LA240 เป็นเรซินที่มีประสิทธิภาพในการบำบัดอิออนโลหะหนักดีที่สุด ------------------------------------------------------------ Application of natural rubber on removal of heavy metals by modification natural rubber latex to cation exchange resin was carried out via ozonolysis reaction to obtain the shorter molecular chains having aldehyde and ketone end groups followed by modification molecular structure to have ion exchange functional groups. There are three types of obtained resins LA180, LA240, and LA300 obtained by addition reaction of natural rubber having average molecular weight 5600, 2600, และ1000 g/mol, respectively. The efficiency and the optimum conditions of these resins on removal of heavy metals from water was found that LA240 is most efficiency on removal of heavy metals from water.
-
6248 การดัดแปรน้ำยางธรรมชาติให้เป็นเรซินแลกเปลี่ยนอิออน โดยผ่านปฎิกิริยาโอโวโนไลซิส /project-mathematics/item/6248-2016-09-09-03-48-48-6248เพิ่มในรายการโปรด