มวลชีวภาพเหนือดินในพื้นที่ที่มีการทดแทนในระบบนิเวศบริเวณลุ่มน้ำย่อยน้ำว้า จังหวัดน่าน โดยสร้างแบบจำลองพลวัตรเชิงระบบ
ศึกษามวลชีวภาพเหนือดินในป่าทุติยภูมิที่เคยถูกรบกวนซึ่งได้รับการสงวนให้เกิดการทดแทนตามธรรมชาติไว้ 17 ปี จากนั้นสร้างแบบจำลองพลวัตรเชิงระบบโดยใช้แบบจำลอง STELLA โดยหากไม่มีการรบกวนป่าในรูปของการตัดไม้จะมีมวลชีวภาพเหนือดินสูงสุดที่ปีที่ 130-150 (209 ตัน/ เฮกแตร์) และเริ่มเข้าสู่สภาวะสมดุลในปีที่ 400 เมื่อจำลองสถานการณ์ 3 แบบโดยตัดไม้ออกร้อยละ 10 เป็นจำนวน 10 ครั้ง ให้สถานการณ์ที่ 1 ให้มีการตัดไม้ออก ทุกๆปี สถานการณ์ที่ 2 ตัดไม้ออก แบบปีเว้นปี เ และสถานการณ์ที่ 3 ตัดไม้ออกทุกๆ 5 ปี พบว่า มวลชีวภาพที่สูญเสียระหว่างสถานการณ์ที่ 1 และ 2 แตกต่างกับสถานการณ์ที่ 3 (86.7 , 84.9 และ 48.7 ตัน/ เฮกแตร์ตามลำดับ) แต่เวลาที่มวลชีวภาพเหนือดินฟื้นตัวกลับสู่สภาพเดิมเท่ากับก่อนตัดไม้ในสถานการณ์ที่ 3 จะใช้เวลาน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับทั้งสองสถานการณ์ ( 80 , 72 และ 63 ปี ตามลำดับ) ซึ่งเวลาที่ใช้ในการฟื้นตัวสอดคล้องอย่างผกผันกับการคงเหลืออยู่ของมวลชีวภาพเหนือดินต่ำที่สุด ----------------------------------------------------------------------------------------- Aboveground biomass where have been conserved for ecological succession process more than 17 years was assessed. Then, a system dynamic model was constructing by using STELLA software. Without deforestation, aboveground biomass will reach the maximum in the year of 130-150 (209 tonne/ha) and approach to a steady state in the year of 400. The model was run for 3 scenarios under the conditions of 10% logging in 10 rotations as follows: Scenario 1 with every year logging; Scenario 2 with every other year logging; and Scenario 3 with every 5-year logging. As the results, aboveground biomass loss in Scenario 1 and 2 differ from Scenario 3 (86.7, 84.9 and 48.7 tonne/ha, respectively). However, the period of aboveground recovery overturn to pre-logging state in Scenario 3 is shorter than both Scenarios (80, 72 and 63 years, respectively). The recovery periods inversely correspond to the minimum remaining aboveground biomass.
-
6349 มวลชีวภาพเหนือดินในพื้นที่ที่มีการทดแทนในระบบนิเวศบริเวณลุ่มน้ำย่อยน้ำว้า จังหวัดน่าน โดยสร้างแบบจำลองพลวัตรเชิงระบบ /project-mathematics/item/6349-2016-09-09-03-49-18-6349เพิ่มในรายการโปรด