จาก...หม้อต้มเหล้าคุณปู่ สู่เครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหย
เครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหย ที่ประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ตามหลักการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycling) เพื่อใช้แก้ปัญหายุงรบกวนและห้องเรียนมีกลิ่นอับชื้นในช่วงฤดูฝน ของนักเรียนโรงเรียนบ้านตลาดขี้เหล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 ที่ร่วมกิจกรรมห้องเสริมทักษะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นบ้านได้เลือกวิธีการแก้ปัญหายุงรบกวนและแก้ไขห้องเรียนมีกลิ่นอับชื้นแบบประหยัดและไม่เป็นอันตรายต่อนักเรียนด้วยการใช้สารสกัดจากสมุนไพร โดยทำการศึกษาหลักการทำงานจากชุดนึ่งข้าวเหนียวและหม้อต้มเหล้าพื้นบ้านมาพิจารณาแล้วสรุปผล นำมาปรับสร้างเป็นแบบจำลองจากวัสดุพื้นบ้าน เพื่อทดสอบและสรุปตรวจสอบความเข้าใจจากแบบจำลอง แล้วพิจารณานำวัสดุเหลือใช้ในชุมชนมาออกแบบสร้างเป็นเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเย เพื่อใช้กลั่นน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรสำหรับใช้แก้ปัญหายุงรบกวน และกลิ่นอับชื้นในห้องเรียน จากการทดลองการทำงานของเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยที่สร้างขึ้นตามแบบ พบว่าเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยสามารถทำงานได้ โดยมีประสิทธิภาพให้สารสกัดน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรได้ ซึ่งจากการกลั่นน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพร 3 ชนิด ที่มีในท้องถิ่นโดยเลือกจากพืชสมุนไพรที่มีคุณสมบัติในการป้องกันยุงและให้กลิ่นสดชื่นรวมถึงเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพและร่างกายของนักเรียนได้แก่ การนำเอาต้นตะไคร้หอม ผิวมะกรูดและใบยูคาลิปตัสอย่างละ 3 กิโลกรัม มากลั่นด้วยเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหย โดยใช้น้ำสะอาดจำนวน 5 ลิตร ต่อการกลั่น 1 ครั้ง ใช้เวลากลั่น 1 ชั่วโมง ต่อการกลั่น 1 ครั้ง ใช้ความร้อนจากถังแก๊สปิกนิกที่เปิดวาล์วเร่งความร้อนที่ 3/4 ของวาล์วเปิด-ปิดเพื่อให้อุณหภูมิการกลั่นที่สม่ำเสมอ พบว่าได้ส่วนผสมของสารสกัดน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพร ทั้ง 3 ชนิด คือ 600 มิลลิลิตร 520 มิลลิลิตร 750 มิลลิลิตรตามลำดับ จากการตรวจสอบกลิ่นและสังเกตสีของสารสกัดที่ได้พบว่าส่วนประกอบของสารสกัด มีลักษณะเป็นน้ำที่มีกลิ่นของพืชสมุนไพรเป็นส่วนใหญ่และมีฝ้าอยู่บริเวณผิวหน้าน้ำที่กลั่นได้ที่มีสีแตกต่างกัน โดยฝ้าน้ำมันที่ได้จากตะไคร้หอมจะมีสีจางๆ ฝ้าน้ำมันที่ได้จากผิวมะกรูดจะมีสีเหลืองจางๆ ฝ้าน้ำมันที่ได้จากใบยูคาลิปตัส จะไม่มีสีแต่จะมีลักษณะเป็นมันวาว เมื่อใช้หลอดฉีดยาดูดฝ้าน้ำมันที่ลอยอยู่บริเวณผิวได้ปริมาณดังนี้ ตะไคร้หอม จำนวน 10 มิลลิลิตร ผิวมะกรูด จำนวน 18 มิลลิลิตร ใบยูคาลิปตัส จำนวน 14 มิลลิลิตร และเมื่อนำน้ำสารสกัดที่เหลือจากการดูดเอาฝ้าน้ำมันที่ลอยบริเวณผิวหน้าไปใส่กระบอกฉีดน้ำ จำนวน 200 มิลลิลิตร ฉีดพ่นบริเวณรอบห้องเรียนพบว่าสารสกัดจากตะไคร้หอมจะช่วยป้องกันการรบกวนจากยุงได้นาน 3 ชั่วโมง สารสกัดจากตะไคร้หอม ผิวมะกรูด และยูคาลิปตัสจะช่วยแก้ไขกลิ่นอับชื้นทำให้ห้องมีกลิ่นและบรรยากาศที่สดชื่น ได้นาน 3 ชั่วโมง 3 ชั่วโมงและ 1 ชั่วโมงตามลำดับ เมื่อนำฝ้าน้ำมันที่ได้จากการใช้หลอดดูดน้ำมันที่ลอยอยู่บริเวณผิวของสารสกัดจากพืชสมุนไพรที่ได้ไปใช้เป็นส่วนผสมในการจัดทำยาหม่องสมุนไพร พบว่าฝ้าน้ำมันดังกล่าวมีคุณสมบัติที่ดีสามารถใช้เป็นส่วนผสมทำยาหม่องสมุนไพรได้
-
6627 จาก...หม้อต้มเหล้าคุณปู่ สู่เครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหย /project-mathematics/item/6627-2016-09-09-03-52-00-6627เพิ่มในรายการโปรด