การใช้พืชท้องถิ่นป้องกันการเน่าเสียของน้ำตาล
ขณะที่เกษตรกรรองรับน้ำหวานจากต้นตาลเพื่อนำมาทำน้ำตาลสดพบว่าน้ำตาลสดมีการเน่าเสียเร็วและชาวบ้านนิยมป้องกันการเน่าเสียด้วยเปลือกต้นพะยอย (Shorea roxburghii G.Don) หรือเคี่ยม (Cotylelobiun lanceolatum Craib.) เป็นพืชวงศ์ยาง-ตะเคียน (Dipterocarpaceae) ซึ่งเปลือกลำต้นมีน้ำยาง แต่พืชทั้ง 2 ชนิดเป็นไม้ยืนต้น เจริญเติบโตช้า ไม่มีในท้องถิ่น และมีการลักลอบตัดมาขายนับวันจะหมดไปถ้าหากยังคงมีการกระทำเช่นนี้ต่อไป บางคนใช้สารกันบูดสังเคราะห์ ถ้ารับประทานน้ำตาลสดที่เจือปนสารนี้บ่อย ๆ จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ จึงทดลองป้องกันการเน่าเสียของน้ำตาลสดด้วยพืชในท้องถิ่นที่เปลือกลำต้นมีน้ำยาง จำนวน 11 ชนิด ได้แก่ ประดู่ (Pterocarpus macrocarpus Kurz) นนทรี (Peltophorum pterocarpum DC.) แคบ้าน (Sesbania javanica (L.) Poir.) ทองหลาง (Erythrina variegata L.) มะขาม (Tamaridus indica L.) คูน (Cassia fistula L.) สะเดา (Azadirachta indica Juss.) มะม่วง (Mangifera indica L.) ขนุน (Artocarpus heterophyllus Lamk) สะแกนา (Combretum quadrangulare Kurz.) และสน (Pinus spp.) เปรียบเทียบกับพะยอมและเคี่ยม โดยศึกษาชนิดและปริมาณของเปลือกลำต้นพืชที่เหมาะสม ประเมินการเน่าเสียของน้ำตาลสดด้วยการวัดค่าพีเอชและ Methylene blue reduction test (Atherton & Newlander, 1977) ผลการทดลองพบว่าเปลือกลำต้นนนทรี ประดู่ และแคบ้านสามารถป้องกันกันการเน่าเสียของน้ำตาลสดได้เช่นเดียวกับเปลือกลำต้นเคี่ยมและพะยอม แต่เปลือกลำต้นนนทรีดีกว่าประดู่และแคบ้าน น้ำตาลสดใส่เปลือกลำต้นนนทรีปริมาณ 5 % ขึ้นไป เกิดการเน่าเสียน้อยภายในระยะเวลาการเก็บ 24 ชั่วโมง ณ อุณหภูมิปกติ จากการทดลองสรุปได้ว่าชนิดและปริมาณของเปลือกลำต้นพืชมีผลต่อการป้องกันการเน่าเสียของน้ำตาลสดได้แตกต่างกันโดยเปลือกลำต้นนนทรีสามารถใช้ป้องกันการเน่าเสียของน้ำตาลสดแทนเปลือกลำต้นพะยอมและเคี่ยม
-
6628 การใช้พืชท้องถิ่นป้องกันการเน่าเสียของน้ำตาล /project-mathematics/item/6628-2016-09-09-03-52-00-6628เพิ่มในรายการโปรด