การศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการผลิตถ่านเชื้อเพลิงอัดแท่งจากวัสดุเหลือใช้ของยางพารา
การศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการผลิตถ่านเชื้อเพลิงอัดแท่งจากวัสดุเหลือใช้ของยางพารา (The study of a suitable proportion to produce stick charcoal from the Para-Rubber’s leftover)
เชื้อเพลิงเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญในชีวิต ในปัจจุบันความต้องการใช้เชื้อเพลิงมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เชื้อเพลิงขาดแคลนและมีราคาสูง (อนุชิต กิจสวัสดิ์, 2543) ในการทำสวนยางพาราพบว่า ไม้ยางพาราและเปลือกนอกของเมล็ดยางพารามีปริมาณมาก และวัสดุดังกล่าวไม่ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ นอกเหนือจากปล่อยให้ย่อยสลายเองตามธรรมชาติ งานวิจัยนี้ศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการผลิตถ่านอัดแท่งจากไม้ยางพาราและเปลือกนอกของเมล็ดยางพาราที่ให้ค่าพลังงานเชื้อเพลิงมากที่สุด ทำการทดลองโดยนำถ่านจากไม้ยางพารามาผสมกับถ่านจากเปลือกนอกของเมล็ดยางพาราในอัตราส่วนต่างๆ กัน โดยใช้ตัวประสาน 2 ชนิด คือ น้ำแป้งสุกกับดินเหนียวละลายน้ำ สามารถผลิตถ่านอัดแท่งได้ทั้งหมด 22 สูตร คือ ถ่านที่ใช้น้ำแป้งสุกเป็นตัวประสาน (A1-A11) และถ่านที่ใช้ดินเหนียวละลายน้ำเป็นตัวประสาน (B1-B11) เมื่อนำไปหาค่าพลังงานความร้อนด้วยเครื่องบอมบ์แคลอรีมิเตอร์พบว่า ถ่านสูตร A1 (ไม้ยางพารา) และถ่านสูตรB11 (เปลือกนอกของเมล็ดยางพารา) มีค่าพลังงานความร้อนมากที่สุดและน้อยที่สุด คือ 4666.66 และ 3119.12 cal/g ตามลำดับ
-
6650 การศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการผลิตถ่านเชื้อเพลิงอัดแท่งจากวัสดุเหลือใช้ของยางพารา /project-mathematics/item/6650-the-study-of-a-suitable-proportion-to-produce-stick-charcoal-from-the-para-rubber-s-leftoverเพิ่มในรายการโปรด