กาวจากเปลือกพืชป่าชายเลน
ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าชายเลนมากประเทศหนึ่งในเขตร้อนแถบเอเชีย ป่าชายเลนมีประโยชน์ในทางระบบนิเวศมากมายและยังมีระโยชน์ต่อมนุษย์เราอีกด้วย ชายประมงได้ใช้ประโยชน์จากพืชป่าชายเลน และเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่สำคัญคือการนำเปลือกมาย้อมแหอ้วน เพื่อให้เหนียวและทนทานต่อแสงแดงเมื่อออกทะเล และจากการศึกษาเอกสารต่าง ๆ พบว่าในเปลือกพืชป่าชายเลนมีสารแทนนินซึ่งมีสมบัติเป็นกาวสามารถติดวัสดุได้ โครงงานเรื่องนี้แบ่งการทดลองออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 ศึกษาหาชนิดของเปลือกพืชป่าชายเลนที่ให้สารสกัดมีสมบัติเป็นกาวมากที่สุด โดยศึกษาชนิดของเปลือกไม้ป่าชายเลน ทั้ง 4 ชนิด คือเปลือกโกงกาง ตะบูน ลำแพน และแสม จากนั้นสารสกัดที่ได้มาทดสอบการติดพื้นผิวชนิดต่าง ๆ ตอนที่ 2 เปรียบเทียบประสิทธิภาพกาวจากเปลือกไม้ป่าชายเลน กับกาวที่มีขายทั่วไป คือ กาวลาเท็กซ์ จากการทดลองพบว่า เอทานอลสามารถใช้สกัดโปรแอนโทรไซยานิดินแทนนินจากเปลือกพืชป่าชายเลนได้ เมื่อทดสอบโดยใช้เกลือเฟอร์ริก ทำให้สารละลายเปลี่ยนสีเกลือเฟอร์ริกเป็นสีเขียว คือกาวจากเปลือกโกงกางติดเหล็กได้ดีรองจากกาวลาเท็กซ์ กาวจากเปลือกลำแพนติดไม้อัดได้ดีรองจากกาวลาเท็กซ์ กาวจากเปลือกลำแพนติดกระดาษรองปกได้ดีรองจากกาวลาเท็กซ์ กาวจากเปลือกโกงกางติดกระดาษแข็งได้ดีรองจากกาวลาเท็กซ์ กาวจากเปลือกโกงกางติดไม้ได้ดีรองจากกาวลาเท็กซ์ ซึ่งสารส่วนใหญ่จะให้ความแข็งแรงในการยึดติดน้อยกว่ากาวลาเท็กซ์ แต่กาวจากเปลือกพืชป่าชายเลนเป็นกาวที่ได้จากธรรมชาติไม่ได้เจือปนสารเคมี มีการผลิตที่ไม่วุ่นวาย ไม่อันตราย และเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วย
-
4847 กาวจากเปลือกพืชป่าชายเลน /project-other/item/4847-2016-09-09-03-24-41_4847เพิ่มในรายการโปรด