การผลิต aminosugar จากไคทินด้วยเอนไซม์จากจุลินทรีย์
น้ำตาลเอ็น-อะซิทิล-ดี-กลูโคซามีน (N-acetyl-D-glucosamine) และไคโทออร์ลิโกแซคคาร์ไรด์ (Chitooligo-sacchride) เป็นaminosugar ที่ได้จากการตัดสายไคทินและไคโทซานซึ่งมีความสำคัญทางชีวภาพสำหรับทั้งสัตว์และพืช จึงได้มีการศึกษาและนำไปประยุกต์ใช้ทั้งทางด้านเภสัชกรรมและเกษตรกรรม ในการตัดสายไคทินและไคโทซานเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้สามารถทำได้ทั้งวิธีทางเคมีและการใช้เอนไซม์ แต่การใช้เอนไซม์นั้นจะมีข้อได้เปรียบมากกว่าวิธีการทางเคมีหลายประการ เช่น การควบคุมปฏิกิริยานั้นทำได้ค่อนข้างง่าย ปฏิกิริยาเกิดขึ้นได้ที่อุณหภูมิและความดันปกติ มีความจำเพาะต่อสับสเตรทสูงและมีปฏิกิริยาข้างเคียงน้อย นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าอีกด้วย จึงได้นำ E.coli ที่มียีนผลิตเอนไซม์ไคทิเนสของ Burkholderia cepacia ไปเลี้ยงและเก็บเอนไซม์ที่แบคทีเรียปล่อยออกมา จากการนำเอนไซม์ที่ได้ ไปทำ assay ของเอนไซม์พบว่าเอนไซม์นี้สามารถทำงานได้ดีที่สุดที่อุณหภูมิ และ pH 5 เมื่อนำเอนไซม์มาย่อยไคทินพบว่าผลิตภัณฑ์หลักที่ได้เป็น N,N - diacetylchitobiose จึงคาดว่ามีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการผลิตN,N-diacetylchitobiose
-
5024 การผลิต aminosugar จากไคทินด้วยเอนไซม์จากจุลินทรีย์ /project-other/item/5024-aminosugarเพิ่มในรายการโปรด