การสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของป่าชายเลนวัดอโศการาม จ. สมุทรปราการ
โครงการนี้จัดทำขึ้นเนื่องด้วยความสนใจและความต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมอนุรักษ์มรดกทางธรรมชาติของจังหวัดสมุทรปราการ คือ ป่าชายเลน ซึ่งนับวันจะมีปริมาณพื้นที่น้อยลงไปทุกทีทั้ง ๆ ที่ป่าชายเลนมีความสำคัญต่อทรัพยากรและระบบนิเวศชายฝั่ง อันเกี่ยวข้องโดยตรงกับสภาพเศรษฐกิจของจังหวัดสมุทรปราการ โดยเฉพาะป่าชายเลนบริเวณวัดอโศการามนี้ เป็นพื้นที่ที่ได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟูมาอย่างต่อเนื่องด้วยเหตุที่ว่าป่าชายเลนในจัดหวัดสมุทรปราการนั้นไม่มีส่วนใดเลยที่ขึ้นตรงต่อกรมป่าไม้ จึงไม่ได้มีการจัดกิจกรรมพิทักษ์ป่าอย่างป่าไม้บริเวณอื่น ดังนั้นการดูแลรักษาป่าชายเลนจึงต้องอาศัยจิตสำนึกของชุมชนและเจ้าของพื้นที่ โครงงานนี้มุ่งศึกษาสภาพแวดล้อมโดยรวมทั้งด้านกายภาพและชีวภาพ อีกทั้งยังคาดหวังให้เป็นข้อมูลพื้นฐานแก่ท้องถิ่น ที่จะช่วยในการอนุรักษ์ผืนป่าแห่งนี้ไว้ วิธีการศึกษาจะใช้การสำรวจในพื้นที่เพื่อสำรวจสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่มีอยู่ในป่า สังคมป่า และเก็บตัวอย่างดินและน้ำเพื่อนำไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ ทั้งยังครอบคลุมงานในห้องปฏิบัติการบางส่วนอีกด้วย ผลการสำรวจพบว่า ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของป่าชายเลนวัดอโศการามคุณภาพของน้ำมี ค่าความเค็มอยู่ในช่วง 3-4 ส่วนในพันส่วน ค่าความเป็นด่างของน้ำอยู่ในช่วง 130-220 มิลลิกรัม/ลิตร ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำอยู่ในช่วง 5.96 – 6.69 ส่วนคุณภาพดินนั้น มีปริมาณน้ำในดินอยู่ในช่วง 42.1573 – 69.2712 % ปริมาณสารกรดอินทรีย์ในดินอยู่ในช่วง 7.7298 – 10.6969 % ปริมาณซัลไฟด์อยู่ในช่วง 0.0007 – 0.0218 มิลลิกรัม/น้ำหนักดินแห้ง 1 กรัม รวมถึงชนิดพันธุ์ไม้ที่สำรวจพบทั้งหมด 13 ชนิด โดยกลุ่มที่สำคัญคือ สกุล โกงกาง มีความหนาแน่นประมาณ 4.5 ต้น/ตารางเมตร ชนิดพันธุ์สัตว์ที่สำรวจพบทั้งหมด 14 ชนิด โดยกลุ่มที่มีความสำคัญคือ พวกปลาตีน ปูก้ามดาบ ปูแสม ที่มีความหนาแน่น 3.6 , 4 , 2.6 ตัว/ตารางเมตร และคาดว่ายังมีสิ่งมีชีวิตอีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับการสำรวจในครั้งนี้ จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมให้มากขึ้นเพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของป่าชายเลน วัดอโศการาม ให้ยังคงอยู่และเพิ่มพูนต่อไป
-
5033 การสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของป่าชายเลนวัดอโศการาม จ. สมุทรปราการ /project-other/item/5033-2016-09-09-03-25-36_5033เพิ่มในรายการโปรด