การศึกษาเสียงและระยะการวางตัวของขั้นแบ่งเสียงของพิณอีสาน
โครงงาน “ การศึกษาเสียงและระยะการวางตัวของขั้นแบ่งเสียงของพิณอีสาน ” มีจุดประ สงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเสียงพิณอีสานกับระยะการวางตัวของขั้นแบ่งเสียง(Fret) , ศึกษาคุณภาพของเสียงและระบบขั้นบันไดเสียงของพิณอีสานโดยได้แบ่งการดำเนินการออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ คือ ตอนที่ 1 ทำการศึกษาลักษณะทางกายภาพบนคอพิณอีสาน โดยการวัดระยะการวางตัวของแต่ละช่วง Fret ทุกช่วง แล้วนำมาหาความสัมพันธ์กับเสียงที่ได้ ตอนที่ 2 ทำการบันทึกเสียงที่ได้จากการดีดพิณที่ Fret ต่างๆ ตอนที่ 3 นำข้อมูลเสียงที่บันทึกไว้ไปผ่านการแปลงฟูริเยร์ (Fourier Transfprm) ซึ่งเป็นการแยกฟังชั่นคลื่นที่รวมกันอยู่หลายๆความถี่และหลายแอมพลิจูดออกเป็นคลื่นรูปไซน์ที่มีความถี่และแอมพลิจูดต่างกัน โดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์คลื่น Signal Analyze Toolkit ท้ำให้สามารถอ่านค่าความถี่ของแต่ละเสียงได้ จากผลการทดลองและการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ระยะห่างของขั้นแบ่งเสียงของพิณอีสานจะมีความสัมพันธ์กับเสียงที่ได้ในแต่ละ 1 รอบของระดับเสียงดนตรี (โด-เร-มี-ฟา-ซอล-ลา-ที-โด สูง) ดังนี้ คือ ช่วงFret ของสียงโด จะมีระยะห่างน้อยสุด,ช่วงFret ของเสียง เร จะมีระยะห่างน้อยสุด , จากนั้นจะลดลงจนมาน้อยสุดที่ช่วง Fret ของเสียงโด ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของระดับเสียงอีก 1 รอบ ที่สูงขึ้นไปอีกโดยช่วง Fret ของเสียงเดียวกัน ในFret ที่ลึกเข้าไป จะมีระยะลดลงเรื่อยๆ และพบว่า ขั้นเสียงพิณมีลักษณะที่แปลกออกไปจากทฤษฎีว่าด้วยขั้นบันไดเสียงของดนตรีสากล
-
5377 การศึกษาเสียงและระยะการวางตัวของขั้นแบ่งเสียงของพิณอีสาน /project-other/item/5377-2016-09-09-03-36-51-5377เพิ่มในรายการโปรด