การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดซิลิกาอสัณฐาน
ไดอะตอมไมท์เป็นวัตถุดิบธรรมชาติชนิดหนึ่งที่เกิดจากการสะสมตัวของซากไดอะตอม มีองค์ประกอบหลักเป็นซิลิกอนไดออกไซด์ชนิดที่ไม่มีผลึก (Amorphous Silica) ทำให้อนุภาคของไดอะตอมไมท์มีสภาพเป็นรูพรุน มีพื้นที่ผิวมาก และยังมีคุณสมบัติที่สามารถดูดซับเอาอนุภาคของธาตุต่างๆไว้ในตัวเองได้ง่าย จึงนิยมนำไปใช้ประโยชน์เป็นวัสดุดูดซับในอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ขัดมัน เป็นต้น จากการที่มีปริมาณซิลิกาอสัณฐานค่อนข้างสูงนี้เองจึงได้ทำให้เกิดความสนใจทำโครงงานนี้ โดยใช้ไดอะตอมไมท์เป็นวัตถุดิบตั้งต้นสำหรับการผลิตซิลิกาอสัณฐาน โดยทำการชะล้างสิ่งเจือปนในดินไดอะตอมไมท์ด้วยกรดไฮโดรคลอริกก่อนแล้วจึงนำไปสกัดเอาซิลิกาอสัณฐานออกมาโดยละลายดินไดอะตอมไมท์ในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่มีค่า pH ต่างๆกัน แล้วนำตัวอย่างที่ได้มาไปตรวจสอบหาปริมาณธาตุต่างๆด้วยกระบวนการเคมีวิเคราะห์และทำการไทเทรตเพื่อแยก ซิลิกาอสัณฐานออกมา โดยดินไดอะตอมไมท์ที่ละลายในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่มีค่า pH เป็น 12, 11, 10 และ 9 ให้ปริมาณซิลิกาอสัณฐานจากมากไปน้อยเรียงตามลำดับ
-
5380 การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดซิลิกาอสัณฐาน /project-other/item/5380-2016-09-09-03-36-51-5380เพิ่มในรายการโปรด