การเปรียบเทียบการติดสีโครโมโซมของเซลล์พืชด้วยข้าวเหนียวดำ (Oryza sativa L.) และครั่ง (Laccifer lacca Kerr) ในตัวทำละลาย ความเข้มข้น และระดับความเป็นกรด-ด่างที่ต่างกัน
ชื่อผู้ทำโครงงาน
สิริลักษณ์ ทิพย์ฤๅตรี
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
อลงกลด แทนออมทอง
สถาบันการศึกษา
ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ระดับชั้น
ปริญญาโทขึ้นไป
หมวดวิชา
ชีววิทยา
วัน/เดือน/ปี ทำโครงงาน
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อ
ศึกษาเปรียบเทียบการติดสีโครโมโซมของพลับพลึงตีนเป็ด (Hymenocallis littoralis Salisb.) ด้วยสีย้อมธรรมชาติ สกัดสีจากข้าวเหนียวดำ และครั่ง ใช้ตัวทำละลาย 4 ชนิด ความเข้มข้น 3 ระดับ และปรับระดับความเป็นกรด-ด่างตั้งแต่ 1-7 นำสีที่สกัดได้ย้อมรากที่กำลังมีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซีสด้วยวิธี squash technique พบว่าสารสีจากธรรมชาติที่สกัดสามารถย้อมติดโครโมโซมพืชได้ชัดเจน ได้แก่ สีที่สกัดจากข้าวเหนียวดำ 45% กรดอะซิติก ความเป็นกรด-ด่าง 1.18, 30% บิวทานอล ความเป็นกรด-ด่าง 1.69, 45% บิวทานอล ความเป็นกรด-ด่าง 1.64 และสีที่สกัดจากครั่งใช้ 60% เอทานอล ความเป็นกรด-ด่าง 2.35
คำสำคัญ
สี,โครโมโซม,พืช,ข้าว,เหนียว,ดำ,กรด,ด่าง
ประเภท
Text
ลิขสิทธิ์
ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สิริลักษณ์ ทิพย์ฤๅตรี
ระดับชั้น
ม.4, ม.5, ม.6
กลุ่มเป้าหมาย
ครู, นักเรียน
-
5407 การเปรียบเทียบการติดสีโครโมโซมของเซลล์พืชด้วยข้าวเหนียวดำ (Oryza sativa L.) และครั่ง (Laccifer lacca Kerr) ในตัวทำละลาย ความเข้มข้น และระดับความเป็นกรด-ด่างที่ต่างกัน /project-other/item/5407-oryza-sativa-l-laccifer-lacca-kerrเพิ่มในรายการโปรด
คุณอาจจะสนใจ
Hits (78381)
ให้คะแนน
Crocodile blood is a waste material in slaughtering of crocodile industry.Recently, it was added ...
Hits (75527)
ให้คะแนน
ไข่มุกเป็นอัญมณีที่มีความสวยงามในตัวเองคือมีความวาวแบบมุก (Pearly Luster) และมีการเหลือบสีรุ้ง ...
Hits (75043)
ให้คะแนน
This research studied the quantity of synthetic colour in fruit and vegetable pickled that ...