การสะสมโลหะหนักและผลต่อการทำงานของเอ็นไซม์กลูตาไทโอนเอส ทรานเฟอเรสในต้นดาวเรือง
ปัญหาการปนเปื้อนโลหะหนักในสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาสำคัญและจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขโดยเร่งด่วน ดาวเรือง (Tagetes erecta) เป็นพืชดอกที่นิยมปลูกทั่วไปสามารถสะสมโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว และ แคดเมียมได้สูง การทดลองนี้จึงศึกษาถึงผลของสารละลายตะกั่วต่อการทำงานของเอ็นไซม์กลูตาไทโอนเอสทรานเฟอเรส (GST) จากการศึกษาพบว่าสารละลายตะกั่วเข้มข้น 5 มก./ล. สามารถเพิ่มการทำงานของเอ็นไซม์ GST ได้อย่างมีนัยสำคัญ และกระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์ในรากมากกว่าภายในลำต้น GSTเพิ่มสูงสุดที่ 12 ชม.ในรากและ 48 ชม.ในลำต้น ปริมาณกลูตาไทโอน (GSH) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นสำหรับเอ็นไซม์ GSTเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มความเข้มข้นของสารละลายตะกั่วและระยะเวลาที่เลี้ยงพืชในสารละลาย จึงอาจเป็นไปได้ว่าดาวเรืองผลิต GSH และ GST เพิ่มขึ้นเพื่อกำจัดพิษที่เกิดจากโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว คณะผู้ทดลองจึงทำการสกัด GST จากลำต้นของดาวเรืองและวิเคราะห์โปรตีนด้วย SDS PAGE -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- Abstract: Contamination of heavy metals is a serious environmental problem in several countries. Attention is then focused on phytoremediation or the use of plants to remove heavy metals from contaminated sites. African marigold (Tagetes erecta) has been shown to accumulate high amounts of lead (Pb) and cadmium (Cd). We are then interested in the mechanisms that contribute to Pb accumulation and tolerance in African marigold. One mechanism may involve glutathione-s transferase (GST), an enzyme that catalyzes the conjugation of heavy metals with glutathione (GSH). GST activities were significantly increased when treated the plants with 5 mg/L Pb. The GST activities in the root were higher than those in the shoot. The GST activity reached maximum at 12 hr in root and 48 hr in shoot following Pb treatment.In addition, increasing concentrations of Pb promoted levels of GSH and phytochelatins (PC2 and PC3). The amounts of GSH, PC2 and PC3 in Pb-treated roots were also higher than those in the shoot. The results suggest that increasing levels of GST, PC3 and GSH maybe used to remove Pb toxicity. Pb-induced GSTs were purified using GSH sepharose columns and analyzed by SDS gel electrophoresis.
-
6061 การสะสมโลหะหนักและผลต่อการทำงานของเอ็นไซม์กลูตาไทโอนเอส ทรานเฟอเรสในต้นดาวเรือง /project-other/item/6061-2016-09-09-03-45-24เพิ่มในรายการโปรด