ผลของน้ำตาลซูโครสต่อการพัฒนาสีแดงของเปลือกผลมะม่วงพันธุ์มหาชนก
จากการศึกษาผลของน้ำตาลซูโครสต่อการพัฒนาสีแดงของเปลือกผลมะม่วงพันธุ์มหาชนก โดยการให้น้ำตาลซูโครสที่ความเข้มข้น 2.5%, 5.0%, 7.5% และ 10.0% น้ำหนักต่อปริมาตร แก่ผลที่มีอายุ 98 วันหลังดอกบาน สัปดาห์ละครั้ง เป็นเวลา 3 สัปดาห์ แล้วจึงเก็บผลมาวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ผลมะม่วงที่ได้รับน้ำตาลซูโครส ความเข้มข้น 2.5% และเก็บเกี่ยวเมื่อมีอายุ 119 วันหลังดอกบาน มีการพัฒนาสีของเปลือกผลไปเป็นสีแดงมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับการทดลองอื่นๆ โดยเปอร์เซ็นต์พื้นที่สีแดงที่พบบนเปลือกผลของชุดที่ได้รับน้ำตาลซูโครสความเข้มข้น 2.5 % มีค่าเท่ากับ 40 % ในขณะที่ชุดควบคุมมีพี้นที่สีแดงที่พบ16.67 % ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์, ปริมาณน้ำตาลรวม และปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้ของเนื้อผล มีค่ามากที่สุดในผลที่ได้รับน้ำตาลซูโครส ความเข้มข้น 2.5% ปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้ของเนื้อผลของทุกชุดการทดลองมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อผลมีอายุมากขึ้น ในขณะที่ปริมาณกรดที่ไทเทรตได้มีค่าลดลงเมื่อผลมีอายุมากขึ้น ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- Abstract: The study on effect of sucrose on red color development of mango (Mangifera indica L.) cv. Mahajanaka exocarp was conducted by applying sucrose solution at the concentrations of 2.5%, 5.0%,7.5% and 10.0% weight by volume to the 91 days after full bloom (DAFB) fruit every week for 3 weeks.Then the fruit was harvested for analyzing. The results showed that the 119 DAFB harvested fruit, whichwas treated with 2.5% sucrose, had the most red color development on exocarp when compared with other treatments and percent of the red area on it was 40 and the least percent was 16.67 in control treatment.Reducing sugar, total sugars and total soluble solids (TSS) contents of fruit had the highest value in thefruit, which was treated with 2.5% sucrose. When the fruit was more mature, TSS content of fruit increased while the titratable acidity (TA) decreased.
-
6064 ผลของน้ำตาลซูโครสต่อการพัฒนาสีแดงของเปลือกผลมะม่วงพันธุ์มหาชนก /project-other/item/6064-2016-09-09-03-45-26-6064เพิ่มในรายการโปรด