การพัฒนาวิธีการดองใสลูกปลานิล (Oreochromis niloticus) เพื่อการค้า
การดองใสสัตว์เป็นวิธีการที่แพร่หลายในการศึกษาทางด้านอนุกรมวิธาน คัพภะวิทยา และกายวิภาคศาสตร์ของสัตว์ขนาดเล็ก ได้มีผู้ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการดองใสสัตว์อยู่หลายวิธี แต่ไม่มีผู้ใดศึกษาการดองใสสัตว์ในเชิงพาณิชย์ การศึกษาครั้งนี้ได้พัฒนาวิธีการดองใสลูกปลานิลขนาด 3.5-5 เซนติเมตร เพื่อลดต้นทุนและระยะเวลา รวมทั้งทำให้สะดวกต่อการทำการดองใสด้วยตนเอง การศึกษาครั้งนี้ได้เปรียบเทียบน้ำยาคงสภาพและรักษาสภาพ 2 ชนิด คือ ฟอร์มาลิน 10 เปอร์เซ็นต์ และแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งระยะเวลาในการเก็บรักษาตัวอย่างที่แตกต่างกัน (2 4 และ 8 สัปดาห์) และหาปริมาตรของน้ำยาที่เหมาะสมในแต่ละขั้นตอน (การฟอกสีกล้ามเนื้อ การย้อมสีกระดูกอ่อน การทำกล้ามเนื้อใส และการย้อมสีกระดูก) ผลจากการศึกษาพบว่าลูกปลานิลที่ใช้ฟอร์มาลิน 10 เปอร์เซ็นต์เป็นน้ำยาคงสภาพและเก็บรักษาสภาพ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ให้ผลดีที่สุดและใช้เวลาเพียง 2.65±0.39 วัน โดยแต่ละขั้นตอนใช้น้ำยา 30 มิลลิลิตร ต้นทุนการผลิตประมาณ 2 บาท ต่อตัว ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อการผลิตในเชิงพาณิชย์ เพื่อให้บุคคลทั่วไปที่สนใจในการศึกษาโครงร่างสัตว์ โดยผู้ซื้อผลิตภัณฑ์สามารถทำได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนและ นักศึกษา ทุกระดับ ทำให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับระบบโครงร่างมากขึ้น -------------------------------------------------------------------------------------- Clearing muscle and bone staining are the generally method for study in animal taxonomy embryology and anatomy of the small animals. There have many studies about this method but nobody has studied in commercial development before. This study improves process in juvenile nile tilapias, which sizes between 3.5-5 cm for decreasing cost and production time and also for do it by themselves. This study compares effect of fixation (10% formalin and 70% alcohol), preservation (10% formalin and 70% alcohol), preservative time (2, 4 and 8 weeks) and measure the most suitable volume (30, 50 and 70 ml) of chemicals in each state (cleaning pigment muscle, cartilage staining, clearing muscle and bone staining). The result shows that juvenile Nile tilapias, which fixed and preserved in 10% formalin and 2 weeks for preserved are the best condition by using chemicals only 30 ml in each state. The production time is 2.65±0.39 days and cost of production is about 2 baht per unit. This study is utilized for commercial and people who is interesting to study animal structures that can make by themselves. Moreover, it able to be education media for students and others help an understanding about structural systems.
-
6351 การพัฒนาวิธีการดองใสลูกปลานิล (Oreochromis niloticus) เพื่อการค้า /project-other/item/6351-oreochromis-niloticusเพิ่มในรายการโปรด