การศึกษาฤทธิ์ฆ่าอะแคนทามีบาของสารสกัดจากเชื้อราเอนโดไฟต์ในหลอดทดลอง
อะมีบาฉวยโอกาสที่ดำรงชีวิตอิสระในจีนัสอะแคนทามีบาเป็นสาเหตุของโรคกระจกตาดำอักเสบรุนแรงในคนปกติ โดยมักมีความเกี่ยวเนื่องกับการใช้เลนส์สัมผัสอย่างไม่ถูกวิธี เชื้อนี้ยังก่อโรคสมองอักเสบแบบแกรนูโลมาตัสในคนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอีกด้วย เมื่อไม่นานมานี้ได้มีรายงานพบการดื้อยาของอะแคนทามีบาบางสายพันธุ์ ทำให้มีความจำเป็นต้องค้นหายาต้านอะแคนทามีบาชนิดใหม่ จุลชีพเอนโดไฟต์ได้แก่ รา, แบคทีเรียและ Actinomycetes ที่อาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อพืชได้ก่อให้เกิดความหวังใหม่ขึ้น เนื่องจากเมแทบอไลต์ทุติยภูมิของจุลชีพดังกล่าวมีผลกระทบต่อเชื้อโรคหลายชนิด เช่น ไวรัส แบคทีเรีย ราและแมลง ในงานวิจัยนี้ มีการนำส่วนที่ฆ่าอะมีบาได้( TLAU 3 YES amoebicidal fractions, TAF)ของสารสกัดจาก TLAU 3 YES ซึ่งเป็นเอนโดไฟต์ที่แยกจากสมุนไพรไทยมาศึกษากระบวนการต้านอะแคนทามีบาในหลอดทดลอง พบว่าเป้าหมายของ TAF คือ คอนแทรคไทล์แวคคิวโอลของโทรโฟซอยต์ มีการชักนำให้เกิดการสร้างคอนแทรคไทล์แวคคิวโอลขนาดใหญ่(LCV)ซึ่งนำไปสู่การบวมและแตกของเซลล์ เป็นไปได้ว่าผลกระทบของTAF ที่ฆ่าเซลล์ดังกล่าวเกิดจากการออกฤทธิ์ยับยั้งการรวมตัวระหว่างคอนแทรคไทล์แวคคิวโอลกับเยื่อหุ้มเซลล์ มีผลทำให้เกิดการคั่งของน้ำภายในแวคคิวโอล ส่วนของสารสกัดจากราเอนโดไฟต์ดังกล่าว(TAF) มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่จากธรรมชาติที่มีฤทธิ์ฆ่าอะแคนทามีบาได้ -------------------------------------------------------------------------------------- Free –living opportunistic amoeba of the genus Acanthamoeba are the causative agents of severe amoebic keratitis in healthy individuals. It is frequently associated with inappropriately use of contact lenses. The organisms also cause granulomatous amoebic encephalitis in immunocompromised persons. Recently, drug resistance in some Acanthamoeba strains has been reported. It is therefore necessary to search for new anti-acanthamoebal agents. Endophytic microorganisms including fungi, bacteria and actinomycetes which reside in plant tissues have provided a new hope since their secondary metabolites are effective against several pathogens such as viruses, bacteria, fungi and insects. In this research, TLAU 3 YES amoebicidal extracted fractions (TAF) of an endophytic fungi originally isolated from Thai medicinal herb, was studied for their anti-acanthamoebal mechanisms in vitro. Contractile vacuoles (CV) of the trophozoites appeared to be the target of TAF. The fractions induced large contractile vacuole (LCV) formation and cytolysis. It is possible that the cytocidal effect of TAF is due to an inhibition of the fusion between CV and plasma membrane and lead to a retention of water within the vacuoles. This endophytic fungus extracted fractions (TAF), accordingly, tends to be the effective novel natural product with acanthamoebicidal activities.
-
6386 การศึกษาฤทธิ์ฆ่าอะแคนทามีบาของสารสกัดจากเชื้อราเอนโดไฟต์ในหลอดทดลอง /project-other/item/6386-2016-09-09-03-49-29-6386เพิ่มในรายการโปรด