การศึกษาตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์จระเข้วงศ์ Goniopholididae ในหลุมขุดค้นภูเวียง (หมวดหินเสาขัว) จังหวัดขอนแก่น
ตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์ของจระเข้ (PWC 3/1-8) จากอุทยานแห่งชาติภูเวียง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ถูกศึกษาและเปรียบเทียบ ณ ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพ์ชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 ถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 พบว่ามีลักษณะบางประการเหมือนกับจระเข้ Siamosuchus phuphokensis ซึ่งเป็นสกุลและชนิดใหม่ของโลก ที่ถูกพบในจังหวัดสกลนคร โดยอาศัยลักษณะสำคัญดังต่อไปนี้ในการวินิจฉัย 1) ปากและจมูกสั้น (brevirostrine-snouted crocodilian) 2) ผิวของกระดูก Maxilla เป็นหลุมเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วไปอย่างชัดเจน 3) กระดูกสันหลังเว้าเข้าหากันทั้งสองข้าง (amphicoelous vertebra) 4) มีร่องเว้าระหว่างกระดูกขากรรไกร Premaxilla กับ กระดูก Maxilla 5) ตำแหน่งของร่องฟัน premaxilla ที่คล้ายกัน การค้นพบ PWC 3/1-8 ทำให้ทราบว่า Siamosuchus phuphokensis มีการแพร่กระจายอยู่กว้างขวางในหมวดหินเสาขัว (125 ล้านปี) บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ----------------------------------------------------------------------------------------- Fossil crocodilian material (PWC 3/ 1-8), from the Phu Wiang National Park, Phu Wiang district, Khon Kaen province were studied and compared during October 2006 to February 2007 at Palaeontological Research and Education Center,Mahasarakham University. It is reminiscent to Siamosuchus phuphokensis n. g. n. sp. from Sakon Nakhon province, based on the following diagnostic characters: 1) brevirostrine-snouted crocodilian 2) heavily sculptured ornamentation on Maxillary surface 3) amphicoelous vertebra 4) presence of a notch at mpremaxillomaxillary suture 5) similarity of premaxillary alveolus position. The discovery of PWC 3/1-8 suggests that Siamosuchus phuphokensis processes widespread distribution in the Sao Khua Formation (125 MYA.) of northeastern Thailand.
-
6395 การศึกษาตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์จระเข้วงศ์ Goniopholididae ในหลุมขุดค้นภูเวียง (หมวดหินเสาขัว) จังหวัดขอนแก่น /project-other/item/6395-goniopholididaeเพิ่มในรายการโปรด