การปรับสภาวะการเพาะเลี้ยงให้เหมาะสมสำหรับการผลิตรงควัตถุสีส้มโดย Halobacteria sp.HM 13
เชื้อแบคทีเรียในวงศ์ Halobacteriaceae ได้ถูกคัดแยกจากอาหารหมักดองของไทยชนิดต่าง ๆ คือ ปลาร้า ปูเค็ม และกะปิเพื่อศึกษาคัดเลือกเชื้อแบคทีเรียที่สามารถผลิตรงควัตถุสีส้ม จากการศึกษา พบว่า Halobacteria sp. HM 13 ซึ่งมีโคโลนีสีส้ม แยกได้จาก ปูเค็ม ให้ปริมาณ total carotenoid สูงที่สุด ประมาณ และเมื่อทำการศึกษาสภาวะการเพาะเลี้ยงที่เหมาะสมในการผลิตรงควัตถุสีส้ม (Carotenoid intracellular pigment : Astaxanthin) โดย Halobacteria sp. HM 13 พบว่าเมื่อเพาะเลี้ยงเชื้อแบคทีเรียนี้ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส และมี pH เริ่มต้น 7.0 โดยใช้ Halophilic Broth (HB) เป็นอาหารซึ่งมีความเข้มข้นของรงควัตถุซึ่งดูดกลืนแสงที่มีความยาวคลื่น 474 nm เป็นปริมาณมากที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่าปริมาณเซลล์มีมากที่สุดในช่วง Stationary phase (ระยะคงที่) คือ วันที่ 6-9 ของการเพาะเลี้ยง โดยที่ปริมาณรงควัตถุแปรผันโดยตรงกับปริมาณเซลล์ จากผลการทดลอง Halobacteria sp. HM 13 มีความเป็นได้สูงในการเป็นแหล่งผลิต Cartenoid pigment โดยเฉพาะพวก Astaxanthin จากธรรมชาติ เพื่อใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหาร (เนื้อปลา และ เนื้อไก่)
-
4884 การปรับสภาวะการเพาะเลี้ยงให้เหมาะสมสำหรับการผลิตรงควัตถุสีส้มโดย Halobacteria sp.HM 13 /project-physics/item/4884-halobacteria-sp-hm-13เพิ่มในรายการโปรด