การแปลงเพศยุง
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องการแปลงเพศยุง เป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ที่มุ่งศึกษาถึงผลฮอร์โมนในเพศของคนที่มีต่อระบบวงจรชีวิตของยุงลาย เพื่อเป็นการตัดปัญหาการดูดเลือดของยุงตัวเมีย อันเป็นการแพร่เชื้อโรคไข้เลือดออก ด้วยการแปลงเพศยุงตัวเมียให้เป็นตัวผู้ โดยใช้ฮอร์เทสโตโรนในอัตราความเข้มข้น ที่ใช้กับปลานิลทับทิม 1/2 และ 1/4 ผสมกับอาหารปลาดุก แล้วเรียงเป็นชุดที่ 1 , 2 และ 3 ตามลพดับ สำหรับลูกน้อยยุงลายนั้นแบ่งออกเป็น 4 ชุดดังนี้ ชุด A มีลูกน้ำ 300 ตัว จัดในขันน้ำ 3 ใบ ใบละ 100 ตัว เลี้ยงอาหารสูตรที่ 1 ชุด B มีลูกน้ำ 300 ตัว จัดในขันน้ำ 3 ใบ ใบละ 100 ตัว เลี้ยงอาหารสูตรที่ 2 ชุด C มีลูกน้ำ 300 ตัว จัดในขันน้ำ 3 ใบ ใบละ 100 ตัว เลี้ยงอาหารสูตรที่ 3 ชุด D มีลูกน้ำ 100 ตัว จัดในขันน้ำ 1 ใบ เลี้ยงอาหารสูตรที่ 4 (ไม่ผสมฮอร์โมนเทสโทสโตโรน) จากนั้นเลี้ยงลูกน้ำ ตามสูตรอาหารซึ่งในแต่ละวันต้องนับจำนวนลูกน้ำที่ตาย บันทึกผล เปรียบเทียบกับชุดควบคุม เมื่อลูกน้ำกลายเป็นตัวยุง นับจำนวนยุงตัวผู้-ตัวเมียในชุดการทดลองเปรียบกับชุดควบคุม ซึ่งผลปรากฏดังนี้ อัตราส่วนการตายเลี้ยงชุดที่ A ,B ,C และ D คือ 5.7 : 6.7 : 7.33 : 9 พบว่ามีอัตราของตัวผู้ต่อตัวเมียดังนี้ ชุด A คือ 1 : 1.26 ชุด B คือ 1 : 1.28 ชุด C คือ 1 : 1.47 ชุด D คือ 1 : 1.84 จากนั้นนำยุงในทุกชุดการทดลองมาเลี้ยง ด้วยสารละลายน้ำตาลเข้มข้น 10% และให้เลือดแก่ยุง เลี้ยงจนกระทั่งหลังให้เลือด 3 วัน แยกไข่ยุงออกมาเปรียบเทียบกันพบว่า ยุงในชุดที่ A ,B ,C และ D มีจำนวนมากเรียงตามลำดับกัน นำไข่มาแช่ในน้ำอีกครั้ง แยกออกเป็นชุดตามเดิม จนกลายเป็นลูกน้ำและตัวเต็มวัยโดยในช่วงนั้นต้องนับจำนวนที่ตายของลูกน้ำและเปรียบเทียบตัวผู้-เมีย ซึ่งขั้นตอนนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการทดลองอยู่ แต่จากผลการทดลองขั้นต้นพบว่าฮอร์โมนเทสโทสโตโรน นั้นมีผลต่อยุงสังเกตจากอัตราส่วนตัวผู้ต่อตัวเมีย ในผลการทดลองขั้นต้น เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม
-
4921 การแปลงเพศยุง /project-physics/item/4921-2016-09-09-03-25-01_4921เพิ่มในรายการโปรด