การพัฒนาเทคนิคการวิเคราะห์ความเข้มข้นของเซเลเนียม
เซเลเนียมเป็นโลหะที่จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต พบอยู่ในธรรมชาติปริมาณน้อย และทำการวิเคราะห์ได้ยากรวมถึงเทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์นั้นจำเป็นจะต้องมีเครื่องมือที่ทันสมัย การจัดการจากผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญ ดังนั้นการพัฒนาเทคนิคสำหรับศึกษาคุณสมบัติของเซเลเนียมในสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชิวิตด้วยวิธีที่สะดวกและค่าใช้จ่ายไม่สูงจึงจำเป็น จากการศึกษาในปัจจุบัน วิธีที่สะดวกและรวดเร็วสำหรับการวิเคราะห์เซเลเนียม คือ การใช้ Variamine Blue (VB) ทำปฏิกิริยากับไอโดไดต์ ที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างเซเลเนียมกับโพแทสเซียมไอโอไดด์ ในสภาพที่เป็นกรด ได้สารที่มีสีม่วง แล้วนำไปวัดค่าการดูดกลืนแสงด้วยเทคนิค absorption spectrophotometry ที่ความยาวคลื่น 546 nm วิธีการนี้สามารถใช้ได้ดีกับการวิเคราะห์เซเลเนียมในน้ำ ดิน เนื้อเยื่อ ฯลฯ ปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการวิเคราะห์เซเลเนียม ได้แก่ ความเข้มข้นของสารที่เข้าทำปฏิกิริยา พบว่าต้องใช้ Kl 20 ppm, HCl 0.1 M, Variamine Blue 3.75 ppm และ จากนั้นจึงนำวิธีนี้ไปทดลองทดสอบกับกุ้ง หอยนางรม ปลาหมึก และปู โดยเตรียมตัวอย่างด้วยการย่อยตัวอย่าง 0.1 g ด้วย แล้วจึงนำไปทำปฏิกิริยากับ variamine blue และวัดค่าการดูดกลืนแสง พบเซเลเนียมในเปลือกกุ้งและเนื้อปู 10.4 และ 0.66 mg/ 1 g ตัวอย่าง ตามลำดับ ส่วนในเนื้อกุ้ง หอยนางรม และปลาหมึกมีความเข้มข้นของเซเลเนียมน้อยกว่า 0.2 mg/ 1 g ตัวอย่าง
-
5109 การพัฒนาเทคนิคการวิเคราะห์ความเข้มข้นของเซเลเนียม /project-physics/item/5109-2016-09-09-03-28-33_5109เพิ่มในรายการโปรด