เซลล์กัลป์วานิกส์จากน้ำทะเล
โครงงานนี้ได้ศึกษาการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้ทฤษฎีทางไฟฟ้าเคมี ขั้วไฟฟ้าที่ใช้ได้แก่ ขั้วสังกะสีและขั้วทองแดง และใช้สารละลายอิเล็กโทรไลต์เป็นสารละลายโซเดียมคลอไรด์ (ตัวแทนน้ำทะเล) ได้แบ่งการทดลองออกเป็น 2 ส่วนคือ การศึกษาการละลายของสังกะสีและทองแดงในสารละลายในสารละลายโซเดียมคลอไรด์ และสมรรถนะของเซลล์กัลวานิกส์ที่ใช้ขั้วไฟฟ้าเป็นสังกะสีและทองแดงในสารละลายโซเดียมคลอไรด์ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสมรรถนะรวมทั้งกลไกการเกิดปฏิกิริยาต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยได้ทำการทดลองทั้งสิ้น 5 การทดลอง คือการวัดค่า pH ของสารละลายอิเล็กโทรไลต์การวัดความเข้มข้นของ ซิงค์ไอออนและคอปเปอร์ไอออนในสารละลายอิเล็กโทรไลต์ โดยใช้เครื่อง Inductively Coupled Plasma – Optical Emission Spectrophotometer (ICP-OES) การหาความสัมพันธ์ระหว่างความต่างศักย์กับเวลา จากผลการทดลองทั้งหมดที่สามารถยืนยันได้คือ ทั้ง เพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป แต่การที่จะสรุปถึงลักษณะของการเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนยังอาจทำได้เนื่องจากในการทดลองยังมีความผิดพลาดค่อนข้างเยอะและยังหาทฤษฎีมารองรับผลการทดลองประการไม่ได้ และที่พอจะยืนยันได้อีกประการหนึ่งคือ สมการสมติฐานของสังกะสีน่าจะถูกต้อง แต่ของทองแดงยังต้องศึกษาต่อไป สำหรับสมรรถนะของเซลล์กัลป์วานิกส์ความต่างศักย์และกระแสในช่วงแรกจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงแรก หลังจากนั้นจะค่อยๆเพิ่มอย่างช้าๆ สิ่งที่น่าสนใจในการศึกษาต่อไปได้แก่ปัจจัยต่างๆที่มีผลกระทบต่อสมรรถนะของเซลล์กัลป์วานิกส์ เช่น พื้นที่ผิวสัมผัสในการทำปฏิกิริยา อุณหภูมิของระบบ การเคลื่อนไหวของสารละลายอิเล็กโทรไลต์ ฯลฯ
-
5145 เซลล์กัลป์วานิกส์จากน้ำทะเล /project-physics/item/5145-2016-09-09-03-28-43เพิ่มในรายการโปรด